Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13672
Title: | Extension Guidelines for Mangosteen Production by Collaborative Farmers in Trat Province แนวทางการส่งเสริมการผลิตมังคุดแบบแปลงใหญ่ของเกษตรกร ในจังหวัดตราด |
Authors: | CHATKAEW THONGKAM ฉัตรแก้ว ทองแกม jinda khlibtong จินดา ขลิบทอง Sukhothai Thammathirat Open University jinda khlibtong จินดา ขลิบทอง [email protected] [email protected] |
Keywords: | แนวทางการส่งเสริม มังคุด แปลงใหญ่ Extension Guidelines Mangosteen Collaborative Farming |
Issue Date: | 28 |
Publisher: | Sukhothai Thammathirat Open University |
Abstract: | The objectives of this research were to study 1) personal, social, and economic conditions of farmers 2) mangosteen production of collaborative farming farmers 3) problems and suggestions regarding mangosteen collaborative farming and 4) needs and extension guidelines in mangosteen collaborative farming production. This research was survey research. The population of this study was 258 farmers who participated in mangosteen collaborative farming agricultural extension system project in 2023. The sample size of 157 people was determined by using Taro Yamane formula with the error value of 0.05 and simple random sampling method by lotto picking. Data were collected by using interview form and were analyzed by using statistics such as frequency, percentage, minimum value, maximum value, mean, standard deviation, ranking, content analysis, and t-test. The results of the research revealed that 1) farmers had the average age of 61.24 years old, had the average experience in mangosteen production of 23.57 years, received the information from government officers, community leaders, and group meeting, had the average mangosteen production cost of 19,792.35 Baht/Rai, had the average productivity of 754.68 kilogram/Rai, and earned the average income of 51,998.25 Baht/Rai. 2) Farmers operated in the collaborative farming at the lowest level in the aspect of personal business planning, concrete marketplace for sale, and mutual machine usage. 3) Farmers faced with the problems regarding mangosteen production collaborative farming at the high level in the issue of productivity enhancing, product quality development, and production cost reduction. Farmers suggested on the knowledge in mangosteen production and operated in the collaborative farming. 4) The receiving of knowledge and the needs for knowledge of farmers were different at statistically significant level of 0.05. Knowledge that farmers needed were such as the product efficiency increase, the production cost reduction, and quality mangosteen production. They needed the extension channels from public agencies and internet through demonstration method. They also needed the support on factors of production and knowledge from government agencies. The extension guidelines by the extensionist created learning knowledge as per the needs and problems, created motivation in the practice in order to recognize the advantages of participation, created model learning crops and developed model group, incorporated alliance agencies to give continuous support on knowledge, production factors, and service, supported the accessibility to the funding source, connected the market, along with developing cooperative network and creating the group strength. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพส่วนบุคคล สังคม และเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) การผลิตมังคุดของเกษตรกรแปลงใหญ่ 3) ปัญหา และข้อเสนอแนะในการผลิตมังคุดแปลงใหญ่ และ 4) ความต้องการ และแนวทางการส่งเสริมการผลิตมังคุดแบบแปลงใหญ่ การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรที่ร่วมโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่มังคุดจังหวัดตราด ปี 2566 จำนวน 258 ราย กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง 157 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับสลาก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ การวิเคราะห์เนื้อหา และการหาค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 61.24 ปี ประสบการณ์ปลูกมังคุดเฉลี่ย 23.57 ปี ได้รับข้อมูลข่าวสารจากเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้นำชุมชน และการประชุมกลุ่ม ต้นทุนการผลิตมังคุดเฉลี่ย 19,792.35 บาทต่อไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 754.68 กิโลกรัมต่อไร่ รายได้เฉลี่ย 51,998.25 บาทต่อไร่ 2) เกษตรกรมีการดำเนินงานแปลงใหญ่ ในระดับน้อยที่สุด ในประเด็นการจัดทำแผนธุรกิจรายบุคคล การมีตลาดซื้อ ขายที่แน่นอน และการใช้เครื่องจักรกลร่วมกัน 3) เกษตรกรมีปัญหาในการผลิตมังคุดแบบแปลงใหญ่ในระดับมาก ในประเด็นการเพิ่มผลผลิต การพัฒนาคุณภาพผลผลิต และการลดต้นทุนการผลิต เกษตรกรให้ข้อเสนอแนะด้านความรู้ในการผลิตมังคุด และการดำเนินงานการส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ 4) การได้รับความรู้และความต้องการความรู้ของเกษตรกรมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ความรู้ที่เกษตรกรต้องการ ได้แก่ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การลดต้นทุน การผลิต และการผลิตมังคุดคุณภาพ ต้องการช่องทางการส่งเสริมจากหน่วยงานราชการและอินเทอร์เน็ต ด้วยวิธีการสาธิต ต้องการการสนับสนุนปัจจัยการผลิตและองค์ความรู้จากหน่วยงานภาครัฐ แนวทางการส่งเสริมโดยนักส่งเสริมบูรณาการสร้างกระบวนการเรียนรู้ตามความต้องการและปัญหา สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติให้เห็นถึงประโยชน์ ของการเข้าร่วม จัดทำแปลงเรียนรู้ต้นแบบและพัฒนากลุ่มต้นแบบ บูรณาการหน่วยงานภาคีสนับสนุนองค์ความรู้ ปัจจัยการผลิต และบริการอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน การเชื่อมโยงตลาด ตลอดจนการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือและการสร้างความเข้มแข็งของกลุ่ม |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13672 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2659001891.pdf | 1.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.