กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13679
ชื่อเรื่อง: | Extension Guidelines for Maize Stubble Management of Farmers in Mae Sa Subdistrict Wiang Sa District, Nan Province แนวทางการส่งเสริมการจัดการตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรใน ตำบลแม่สา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | SIRIYAPORN MAHAWAN ศิริยาภรณ์ มหาวัน Chalermsak Toomhirun เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ Sukhothai Thammathirat Open University Chalermsak Toomhirun เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ [email protected] [email protected] |
คำสำคัญ: | แนวทางการส่งเสริมการเกษตร การจัดการตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Extension guideline Management of maize stubble Maize stubble |
วันที่เผยแพร่: | 15 |
สำนักพิมพ์: | Sukhothai Thammathirat Open University |
บทคัดย่อ: | The objectives of this research were to study (1) social and economic conditions (2) knowledge and knowledge source of maize stubble management (3) maize stubble management (4) problems and suggestions on management of maize stubble and (5) suggestions on extension guidelines of maize stubble management. The research was done by survey method. The population of this study was 353 maize farmers in Mae Sa Sub-district, Wiang Sa District, Nan Province who registered with the Department of Agricultural Extension in the production year of 2023/2024. The sample size of 188 people was determined by using Taro Yamane formula with the error value of 0.05 and simple random sampling method. Data were collected by conducting interview and were analyzed by using descriptive statistics such as frequency, percentage, maximum value, minimum value, standard deviation and ranking. The results indicated the following: (1) Most of the farmers were male with average of age 54.71 years old and completed primary school. The average experience in maize farming 24.86 years. The average labor in the household of 2.05 people. The average maize farming area of 21.03 rai. The average income in maize cultivation of 6,133 baht/rai. (2) Most of the farmers have basic knowledge of advantages, disadvantages and impacts of maize stubble management, get most knowledge form television and radio media. (3) The most practiced method of maize stubble management by allowing maize stubble to decompose on its own. (4)The problems management of maize stubble include lack of knowledge about the management of maize stubble, maize stubble management is complicated and lack of equipment for maize stubble management, they suggestions that the government should support by giving out funding and training on maize stubble management. (5) The suggestions about extension of maize stubble management by government should provide comprehensive training on maize stubble management, should be provided with materials, equipment or machinery for maize stubble management and there should be maize stubble management guidebook for farmers. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สังคม และเศรษฐกิจ 2) ความรู้และแหล่งความรู้เกี่ยวกับการจัดการตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 3) วิธีการจัดการตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะการจัดการตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และ 5) ข้อเสนอแนะการส่งเสริมการจัดการตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบสำรวจ ประชากร คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในตำบลแม่สา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2566/67 จำนวน 353 ราย กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้ตัวอย่าง จำนวน 188 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 54.71 ปี และจบการศึกษาระดับประถมศึกษา ประสบการณ์ในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เฉลี่ย 24.86 ปี มีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.01 คน มีพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เฉลี่ย 21.03 ไร่ มีรายได้เฉลี่ยจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 6,133 บาทต่อไร่ 2) เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้พื้นฐานข้อดีข้อเสียและผลกระทบจากการจัดการตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ได้รับความรู้จากสื่อโทรทัศน์และวิทยุมากที่สุด 3) การปล่อยให้ตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ย่อยสลายเอง เป็นวิธีที่เกษตรกรปฏิบัติมากที่สุด 4) ปัญหาการจัดการตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ ขาดความรู้เกี่ยวกับการจัดการตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ การจัดการตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีความยุ่งยากซับซ้อนและขาดวัสดุอุปกรณ์ในการจัดการตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เกษตรกรมีข้อเสนอแนะให้ภาครัฐสนับสนุนงบประมาณและถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการจัดการตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 5) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการจัดการตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยภาครัฐควรฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้ทั่วถึง ควรสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์หรือเครื่องจักรกลในการจัดการตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และ ควรมีเอกสารความรู้แจกจ่ายให้แก่เกษตรกร |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13679 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2659002014.pdf | 3.49 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น