กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13682
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการส่งเสริมการผลิตข้าวตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรตำบลห้วยแห้ง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Extension guidelines of rice production according to good agricultural practices of farmers in Huai Haeng Subdistrict, Kaeng Khoi District, Saraburi Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ สุภารัตน์ สาคร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา นารีรัตน์ สีระสาร |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ ข้าว--การผลิต การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี--ไทย--สระบุรี |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) สภาพการผลิตข้าวตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (3) สภาพการส่งเสริมและความต้องการการส่งเสริมการผลิตข้าวตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (4) ปัญหาที่เกี่ยวกับการผลิตข้าวตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี และ (5) แนวทาง การส่งเสริมการผลิตข้าวตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรงานวิจัยเรื่องนี้ เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ตำบลห้วยแห้ง อำเภอ แก่งคอย จังหวัดสระบุรี ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2566/67 จำนวน 499 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร ทาโร ยามาเน ที่ความคลาดเคลื่อน 0.05 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 222 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการจัดอันดับ ผลการศึกษา พบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 51.4 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ในการทำนาเฉลี่ย 32.04 ปี มีพื้นที่ในการทำนาเฉลี่ย 20.15 ไร่ รายได้ภาคการเกษตร ปี 2566 เฉลี่ย 174,315.32 บาท รายจ่ายภาคการเกษตร ปี 2566 เฉลี่ย 89,503.60 บาท (2) สภาพการผลิตข้าวตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีการจัดการน้ำโดยใช้แหล่งน้ำที่สะอาดไม่ปนเปื้อนสารพิษ มีการหยุดใช้สารเคมีก่อนการเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวข้าวที่อายุเหมาะสม และมีการจดบันทึกกระบวนการดูแลรักษาและเก็บเกี่ยวผลผลิต (3) เกษตรกรส่วนใหญ่ได้รับการส่งเสริมด้านความรู้ ในประเด็น การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับข้าว ด้านแหล่งข้อมูลที่เป็นบุคคล ได้รับข่าวสารจากปราชญ์ชาวบ้าน/เกษตรกรปราดเปรื่อง และด้านแหล่งข้อมูลแบบมวลชน ได้รับข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางไลน์ และเกษตรกรมีความต้องการได้รับการส่งเสริมด้านวิธีการส่งเสริมแบบรายบุคคล อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านความรู้ และด้านวิธีการส่งเสริมแบบมวลชน อยู่ในระดับมาก (4) สำหรับปัญหาของเกษตรกรในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดยพบว่าปัญหาด้านการผลิตข้าว มีปัญหาในระดับปานกลาง คือ ปัญหาการบันทึกข้อมูล ในประเด็นขาดการบันทึกที่สม่ำเสมอ และปัญหาด้านการส่งเสริม คือ มีปัญหาด้านเนื้อหาที่ส่งเสริม ในประเด็นการขาดสื่อที่ใช้ในการส่งเสริม/ให้ความรู้ และ (5) แนวทางการส่งเสริมการผลิตข้าวตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี พบว่า เกษตรกรเห็นด้วยกับแนวทางการส่งเสริมด้านการสนับสนุน อยู่ในระดับมากที่สุด ในประเด็นควรสนับสนุนการวางแผนด้านการผลิตสู่การขอการรับรองมาตรฐานตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี รองลงมา คือ แนวทางการส่งเสริมด้านวิธีการส่งเสริม ในประเด็นควรมีการจัดการศึกษาดูงานเกี่ยวกับการขอรับรองมาตรฐานตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี และแนวทางการส่งเสริมด้านความรู้ ในประเด็นการส่งเสริมให้เกษตรกรมีการผลิตข้าวให้ได้มาตรฐานและเพิ่มมูลค่าผลผลิตข้าว |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13682 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2659002063.pdf | 1.88 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น