กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13683
ชื่อเรื่อง: An Extension of Bio-technology Substance Utilization for Fruit Plantation by Farmers in Nakhon Nayok Province
การส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพสำหรับการทำสวนไม้ผลของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดนครนายก
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: THANYAPORN SAIKRASOON
ธัญญาภรณ์ สายกระสุน
Sunan Seesang
สุนันท์ สีสังข์
Sukhothai Thammathirat Open University
Sunan Seesang
สุนันท์ สีสังข์
[email protected]
[email protected]
คำสำคัญ: การทำสวนไม้ผล ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพ การส่งเสริมการเกษตร
Fruit plantation
Bio-technology substance
Agricultural extension
วันที่เผยแพร่:  14
สำนักพิมพ์: Sukhothai Thammathirat Open University
บทคัดย่อ: The objectives of this research were to study 1) personal and socio-economic situations of farmers, 2) situations and management of fruit plantation by farmers, 3) bio-technology substance knowledge and utilization of farmers, 4) reception by famers in bio-technology substance extension, and 5) needs and extension guideline of bio-technology substance utilization for fruit plantation for farmers. This was a survey research. The population was 444 fruit farmers in Nakhon Nayok Province who were collaborative farm members. The sample size was determined by using Taro Yamane’s formula with an error of 0.07 level accounting of 140 samples and were selected by simple random sampling. The data were collected using structural interview and form and analyzed to determine frequency, percentage, minimum value, maximum value, mean, and standard deviation, SWOT analysis was also applied. The research findings showed that 1) farmers were average 58.99 years old and finished primary education. They had averages of 3.52 household members and 2.09 labors to work in 13.33 rai of farming area. They had an average 18.22 years of experience for fruit plantation. 2) They had an average 4.85 rai of total fruit plantation while an average of producing area was 3.96 rai. The plantation was mixed fruits with the main crop was marian plum. Fertilizers were applied in stages of plant growth, fruiting, and growth of fruit by using organic fertilizer and chemical fertilizer with 16-16-16 formula, however in the flowering stage, organic fertilizer was not used, but chemical fertilizer with 8-24-24 formula was applied. Sprinkler system was used for watering and pruning was done after harvesting. Fruit produces were harvested during February to April, the main produce was marian plum with an average produce was 378.79 kilograms from an average 2.04 rai of producing area. An average income of selling fruits in the previous year was 94,577.14 baht per years, while an average expense was 25,338,18 baht per years. 3) They had knowledge of bio-technology substance at a moderate level, while the utilization as a whole was stated at a low level. 4) They had received an extension of bio-technology substance at a moderate level. Furthermore 5) their needs in an extension of bio-technology substance were rated at a high level and they suggested an extension guideline aspects such as cost reduction and enhancing production value, resource management, and marketing.
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลส่วนบุคคล สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพและการจัดการสวนไม้ผลของเกษตรกร 3) ความรู้และการใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพของเกษตรกร 4) การได้รับการส่งเสริมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพของเกษตรกร และ 5) ความต้องการและข้อเสนอแนวทางการส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการทำสวนไม้ผลของเกษตรกร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ เกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่ไม้ผลในโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ จังหวัดนครนายก จำนวน 444 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโรยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.07 ได้จำนวน 140 ราย และสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นอกจากนี้ ยังมีการใช้การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 58.99 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวนสมาชิกครัวเรือนเฉลี่ย 3.52 คน จำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.09 คน ประสบการณ์ในการทำสวนไม้ผล เฉลี่ย 18.22 ปี ขนาดพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมดเฉลี่ย 13.33 ไร่ 2) เกษตรกรมีพื้นที่ทำสวนไม้ผลทั้งหมดเฉลี่ย 4.85 ไร่ พื้นที่ให้ผลผลิตแล้วเฉลี่ย 3.96 ไร่ การทำสวนไม้ผลแบบผสมผสาน ส่วนใหญ่ปลูกมะยงชิด การใช้ปุ๋ยในระยะการเจริญเติบโต ระยะติดผลและพัฒนาการของผล โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมี สูตร 16-16-16 ส่วนระยะออกดอก ส่วนใหญ่ไม่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 8-24-24 การให้น้ำโดยวิธีติดตั้งระบบสปริงเกอร์ และมีการตัดแต่งกิ่งหลังเก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน ส่วนใหญ่เป็นผลผลิตมะยงชิด ผลผลิตเฉลี่ย 2.04 ไร่ จำนวนเฉลี่ย 378.79 กิโลกรัม รายได้จากการขายผลผลิตผลไม้ในรอบปีที่ผ่านมาทั้งหมดเฉลี่ย 94,577.14 บาทต่อปี รายจ่ายในการผลิตไม้ผลในรอบปีที่ผ่านมาทั้งหมดเฉลี่ย 25,338.18 บาทต่อปี 3) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพอยู่ในระดับปานกลาง และมีการใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพในภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ 4) เกษตรกรได้รับการส่งเสริมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 5) เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการทำสวนไม้ผลในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และข้อเสนอแนวทางการส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการทำสวนไม้ผล ประเด็นการส่งเสริม ได้แก่ การลดต้นทุนและการเพิ่มมูลค่าผลผลิต การบริหารจัดการทรัพยากร และการตลาด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13683
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2659002097.pdf5.21 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น