Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13687
Title: การจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อการเชื่อมโยงสู่ตลาดของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในเขตปฏิรูปที่ดิน อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
Other Titles: Agricultural waste management for market linkages of maize famers in the Land Reform Area of Mae La Noi District, Mae Hong Son Province
Authors: ภวัต เจียมจิณณวัตร
ศุภชัย สงชู
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการทรัพยากรเกษตร--การศึกษาเฉพาะกรณี
วัสดุเหลือใช้จากพืชเศรษฐกิจ--ไทย--แม่ฮ่องสอน
การศึกษาอิสระ--การจัดการทรัพยากรเกษตร
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในเขตปฏิรูปที่ดินอำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2) ศึกษาการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ ทางการเกษตรของเกษตรกร และ 3) จัดทำแนวทางการเชื่อมโยงสู่ตลาดของเกษตรกร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในเขตปฏิรูปที่ดินอำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 94 คน กำหนด กลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ที่ความคลาดเคลื่อนเท่ากับ 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 76 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้แทนบริษัทผลิตอาหารสัตว์ จำนวน 2 ราย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีอายุเฉลี่ย 59.32 ปี จบการศึกษา ระดับประถมศึกษา มีเนื้อที่ปลูกเฉลี่ย 4.92 ไร่/คน ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปีละ 1 ครั้ง ผลผลิตเฉลี่ย  1.02 ตัน/ไร่/ปี มีรายได้จาการขายผลผลิตเฉลี่ย 6,589.64 บาท/ไร่/ปี ส่วนใหญ่ขายผลผลิตให้แก่พ่อค้า ผู้รวบรวมในท้องถิ่น 2) การจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรส่วนใหญ่ใช้วิธีการเผาวัชพืช ร้อยละ 55.30 เผาตอซังข้าวโพด ร้อยละ 63.20 เผาเปลือกข้าวโพด ร้อยละ 47.40 และนำเปลือกข้าวโพดไปใช้เป็นอาหารสัตว์ ร้อยละ 47.40 และ 3) แนวทางการเชื่อมโยงสู่ตลาดของเกษตรกร โดยเน้นให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ในการไม่รับซื้อผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เผาพื้นที่แปลงปลูก และให้ผลตอบแทนเพิ่มกับเกษตรกรที่ไม่เผาพื้นที่แปลงปลูก เพื่อให้เกษตรกรเลิกเผาพื้นที่แปลงปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13687
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2659002238.pdf1.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.