Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13692
Title: | Efficiency in Capital Management of Kanchanaburi Teachers Savings Cooperative Limited. ประสิทธิภาพในการบริหารเงินทุนสหกรณ์ออมทรัพย์ครูกาญจนบุรี จำกัด |
Authors: | Thanyalak Laowiwatluk ธัญลักษณ์ เลาวิวัฒน์กุล Wilawan Sillapasorn วิลาวัลย์ ศิลปศร Sukhothai Thammathirat Open University Wilawan Sillapasorn วิลาวัลย์ ศิลปศร [email protected] [email protected] |
Keywords: | ผลการดําเนินงาน ฐานะการเงิน ประสิทธิภาพการบริหารเงินทุน Performance Financial status Efficiency of capital management. |
Issue Date: | 15 |
Publisher: | Sukhothai Thammathirat Open University |
Abstract: | The objectives of this research were to study 1) analyze financial operation and financial status of Kanchanaburi Teachers Savings Cooperative Limited 2) analyze the efficiency in capital management of Kanchanaburi Teachers Savings Cooperative Limited and 3) suggest the guidelines for more efficient capital management of Kanchanaburi Teachers Savings Cooperative Limited. This study is the study of secondary data such as statement of financial position, profit and loss statement, notes to financial statement, and annual report of the cooperative in 2019-2023 with the total year of 5 years. Data were analyzed by using vertical analysis, trend analysis, financial statement analysis by using CAMEL, average financial ratio comparison, cost of capital comparison analysis, and returns from the investment, and content analysis from the interview data with the operating committees. The results of the study from the fiscal year 2019-2023 revealed that 1) regarding the analysis of the performance and financial status, it met with the objectives as followed: (1) the vertical and trend analysis of overall assets, liabilities, and stocks of the cooperative saw the continuous increase of the trend. This was classified into 9.27% of current assets which made 17.5% of growth. 90.73% of non-current assets was increased by 16.19%. 61.37 was a current liabilities which decreased by 3.78%. 4.04% of non-current liabilities showed the increase of 4.03%. Regarding the capital stock, it was increase by 0.26% and the net profit of the performance at 55.23% was increased by 0.06%. (2) The comparison between the operations and financial position of Kanchanaburi Teachers Savings Cooperative Limited in the fiscal year 2019-2023 with the average ratio of large savings cooperative with the CAMEL 6 dimension analysis revealed that the cooperative had higher ration in dimension 1 the strength of capital, dimension 2 quality of assets, dimension 3 the ability in management of the cooperative, dimension 4 the ability in profit making of the cooperative, dimension 5 the cooperative liquidity, and dimension 6 the impacts toward the business which showed that the deposits of cooperative were affected by the change in the deposit interest rate of the commercial banks. 2) For the capital management efficiency analysis, it showed the results as followed: (1) the comparison result between cost of capital and returns on investment found that the returns were higher than the cost of capital of the cooperative; (2) in regard to the efficiency in capital management, it revealed that they were able to increase value in a positive way which showed that there is a capability in value increase from capital management. 3) Regarding the suggestions on efficient capital management, there should be an appropriate control method for cost of capital, well-rounded financial planning, data communication about investment and returns transparently with members to boost up confidence, and model development for prediction analysis in order to increase the efficiency in capital management of the cooperative in the future. การศึกษาครังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ผลการดำเนินงานทางการเงินและฐานะทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูกาญจนบุรี จำกัด 2) วิเคราะห์ประสิทธิภาพการบริหารเงินทุนของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูกาญจนบุรี จำกัด และ 3) เสนอแนะแนวทางการบริหารเงินทุนให้มีประสิทธิภาพของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูกาญจนบุรี จำกัด การศึกษานี้เป็นการศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน หมายเหตุประกอบงบการเงิน และรายงานประจำปีของสหกรณ์ ปี 2562-2566 ระยะเวลา 5 ปี การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์ตามแนวดิ่ง การวิเคราะห์แนวโน้ม การวิเคราะห์งบการเงินแบบวิเคราะห์ในมุมมอง 6 มิติ เปรียบเทียบกับอัตราส่วนเฉลี่ย การวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนเงินทุนและผลตอบแทนจากการลงทุน และการวิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์คณะกรรมการดำเนินงาน ผลการศึกษา ตั้งแต่ปีบัญชี พ.ศ. 2562-2566 พบว่า 1) การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงิน เป็นตามวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) วิเคราะห์ตามแนวดิ่งและแนวโน้ม ภาพรวมสินทรัพย์ และหนี้สินและทุนเรือนหุ้นของสหกรณ์ มีแนวโน้มที่เพิ่มอย่างต่อเนื่อง จำแนกเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนมีจำนวนร้อยละ 9.27 เติบโตขี้นร้อยละ 17.5 ในขณะสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนมีจำนวนร้อยละ 90.73 เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.19 โดยมีหนี้สินหมุนเวียนจำนวนร้อยละ 61.37 ลดลง ร้อยละ 3.78 หนี้สินไม่หมุนเวียนมีจำนวนร้อยละ 4.04 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.03 ส่วนทุนเรือนหุ้นมีจำนวนร้อยละ 34.59 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.26 และผลการดำเนินการมีกำไรสุทธิร้อยละ 55.23 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.06 (2) เปรียบเทียบผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูกาญจนบุรี จำกัด ในปีบัญชี 2562-2566 กับอัตราส่วนเฉลี่ยของสหกรณ์ออมทรัพย์ขนาดใหญ่ ด้วยการวิเคราะห์ในมุมมอง 6 มิติ พบว่า สหกรณ์มีอัตราส่วนที่สูงกว่า ในมิติที่ 1 ความเข้มแข็งของเงินทุน มิติที่ 2 คุณภาพของสินทรัพย์ มิติที่ 3 ความสามารถในการบริหารของสหกรณ์ มิติที่ 4 ความสามารถในการทำกำไรของสหกรณ์ และมิติที่ 5 สภาพคล่องของสหกรณ์ สำหรับ มิติที่ 6 ผลกระทบต่อธุรกิจ พบว่า เงินฝากของสหกรณ์ได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ที่เปลี่ยนแปลง 2) การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการบริหารเงินทุน มีดังนี้ (1) ผลการเปรียบเทียบต้นทุนเงินทุนและผลตอบแทนจากการลงทุน พบว่า ผลตอบแทนสูงกว่าต้นทุนเงินทุนของสหกรณ์ (2) ประสิทธิภาพการบริหารเงินทุน พบว่าสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มมีผลเป็นบวก แสดงถึง ความสามารถในการสร้างมูลค่าเพิ่มที่ดีขึ้นจากการบริหารเงินทุน และ 3) เสนอแนะแนวทางการบริหารเงินทุนให้มีประสิทธิภาพควรควบคุมต้นทุนเงินทุนอย่างเหมาะสม มีการวางแผนทางการเงินที่รอบคอบ ควรมีการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนและผลตอบแทนอย่างโปร่งใสกับสมาชิกเพื่อสร้างความเชื่อมั่น และพัฒนาโมเดลการวิเคราะห์เชิงทำนาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเงินทุนของสหกรณ์ในอนาคต |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13692 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2659002303.pdf | 4.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.