Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13695
Title: | การตัดสินซื้อสินค้าของผู้บริโภคร้านสหกรณ์โรงพยาบาลนครนายก จำกัด |
Other Titles: | Decision to purchase of consumer from Nakhon Nayok Hospital Cooperative Store Limited |
Authors: | สุจิตรา รอดสมบุญ ภานุพงษ์ มณีนาค มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี สหกรณ์โรงพยาบาลนครนายก การซื้อสินค้า |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค 2) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดของร้านสหกรณ์ 3) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจซื้อสินค้า และ 4) ข้อเสนอแนะในการพัฒนาการดำเนินงานของสหกรณ์ การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้บริโภคที่มาซื้อสินค้าจากร้านสหกรณ์โรงพยาบาลนครนายก จำกัด กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การคำนวณจากสูตรที่ไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอนของ ดับเบิลยู จี โคเชน ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 385 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 31 – 40 ปี การศึกษาปริญญาตรี สถานภาพโสด รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 15,000 บาท และส่วนใหญ่เป็นบุคคลทั่วไป 1) การตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค พบว่า ประเภทสินค้าที่ซื้อในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครั้ง 100 – 300 ความถี่ในการซื้อสินค้า 4 – 10 ครั้งต่อเดือน และเหตุผลสำคัญเพราะสินค้าบางรายการราคาถูกกว่าร้านทั่วไป 2) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด 3) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลกับการตัดสินใจซื้อสินค้าที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 คือ เพศ อายุ การศึกษา สถานภาพ รายได้ต่อเดือน และประเภทของผู้บริโภค ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนประสมการตลาดกับการตัดสินใจซื้อสินค้าที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด มีความสัมพันธ์กับ ประเภทของสินค้า ค่าใช้จ่ายต่อครั้ง ความถี่ในการซื้อสินค้าต่อเดือน และเหตุผลที่เลือกซื้อสินค้า และ 4) ข้อเสนอแนะคือ ควรกำหนดราคาให้เหมาะสม เพิ่มการบริการจัดส่ง และเพิ่มช่องคิดเงินในช่วงเวลาเร่งด่วน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13695 |
Appears in Collections: | Agri-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2659002402.pdf | 837.51 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.