Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13704
Title: | An Extension Guideline of Technology Utilization for Cassava Production by Farmers in Kut Rang District of Maha Sarakham Province แนวทางการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรในอำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม |
Authors: | palakorn jomnual พลากร จอมนวล Sunan Seesang สุนันท์ สีสังข์ Sukhothai Thammathirat Open University Sunan Seesang สุนันท์ สีสังข์ sunan.see@stou.ac.th sunan.see@stou.ac.th |
Keywords: | การใช้เทคโนโลยี การผลิตการเกษตร มันสำปะหลัง การส่งเสริมการเกษตร แนวทางการพัฒนาการผลิตการเกษตร Technology utilization Agricultural production Cassava Agricultural extension Guideline of agricultural production development |
Issue Date: | 5 |
Publisher: | Sukhothai Thammathirat Open University |
Abstract: | Objectives of this research were to study 1) personal and socio-economic situations, 2) situation and problems of cassava production, 3) knowledge reception and utilization of cassava production technology, 4) extension needs and suggestion for utilization of cassava production technology, and 5) an extension guide for utilization of cassava production technology to farmers. This was a survey research. The population was 2,562 cassava farmers who registered in production year 2022/2024 in Kut Rang District of Maha Sarakham Province. The samples were calculated for 190 farmers using Taro Yamane’s formula with an error level of 0.07 and selected by proportion sampling method based on the numbers of each sub-district and simple random sampling was applied in each group. The data were collected by a structural interview and analyzed to determine frequency, percentage, minimum value, maximum value, mean, standard deviation, and ranking, SWOT Analysis was also applied. . The research results showed that 1) farmers had an average age of 56.01 years and most of them finished primary education. They had averages of 4.58 family members and 2.64 farm labors. Averages of farm and cassava producing areas were 24.09 and 11.07 rai. In the year 2023, averages of annual household farm and non-farm incomes were 131,725 and 55,671.58 baht. They had an average 12.39 years of cassava production experience. 2) Most of them performed in accordance with recommended practices such as cutting and soil preparation, planting method, watering, fertilizer application, weed control, plant protection, harvesting and post harvesting. An average of cassava yield was 2,837.37 kilograms per rai which made an average income of 8,589.32 baht per rai, while an average of production cost was 4,266.37 baht per rai. They had problems of cassava production at moderate level in the aspects of seeking clean stump from reliable source, stump preparation cost, and selection of chemical liquid for stump. 3) Most farmers had knowledge of cassava production technology at high level, the highest level of knowledge was soil preparation, while planting method was the lowest. 4) In general they indicated their needs in an extension of cassava production technology at moderate level, knowledge of cassava production was indicated at the highest level and knowledge reception via mass media was the lowest level. Furthermore 5) an extension guideline for utilization of cassava production technology, the significant aspects should be developed such as supported from government agencies for appropriate cassava price with production cost, appropriate planning and operations of extension channel to meet goals and needs of farms , training of extension personnel for skill development, an extension of appropriate knowledge and information, and utilization of technology and innovation, respectively. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลส่วนบุคคล สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจ 2) สภาพและปัญหาการผลิตมันสำปะหลัง 3) การได้รับความรู้และการใช้เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลัง 4) ความต้องการและข้อเสนอเกี่ยวกับการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลัง และ 5) แนวทางการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ที่ขึ้นทะเบียนในปีการผลิต 2565/2566 อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 2,562 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ที่ความคลาดเคลื่อน 0.07 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 190 ราย สุ่มตัวอย่างโดยการกำหนดสัดส่วนจำนวนตัวอย่างของแต่ละตำบล และทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายในแต่ละตำบล เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 56.01 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.58 คน แรงงานในครัวเรือนที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 2.64 คน พื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมดเฉลี่ย 24.09 ไร่ พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังเฉลี่ย 11.07 ไร่ รายได้ครัวเรือนภาคการเกษตรทั้งหมดในปี 2566 เฉลี่ย 131,725 บาท รายได้ครังเรือนนอกภาคการเกษตรทั้งหมดเฉลี่ย 55,671.58 บาท ประสบการณ์การปลูกมันสำปะหลังเฉลี่ย 24.66 ปี 2) เกษตรกรส่วนใหญ่มีการปฏิบัติตามหลักวิชาการในด้านการเตรียมท่อนพันธุ์ การเตรียมดิน วิธีการปลูก การให้น้ำ การใส่ปุ๋ย การกำจัดวัชพืช การป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว ผลผลิตมันสำปะหลังเฉลี่ย 2,837.37 กิโลกรัมต่อไร่ รายได้จากการจำหน่ายมันสำปะหลังเฉลี่ย 8,589.32 บาทต่อไร่ ต้นทุนในการผลิตมันสำปะหลังเฉลี่ย 4,266.37 บาทต่อไร่ ปัญหาในการผลิตมันสำปะหลังอยู่ในระดับปานกลาง ประกอบด้วย การจัดหาท่อนพันธุ์สะอาดจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ค่าใช้จ่ายในการเตรียมท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง และการเลือกใช้สารเคมีในการแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง 3) ความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลัง ส่วนใหญ่เกษตรกรมีความรู้อยู่ในระดับมาก ส่วนความรู้มากที่สุด คือ การเตรียมดิน และมีความรู้น้อยที่สุด คือ วิธีการปลูก 4) ในภาพรวมเกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังในระดับปานกลาง โดยความรู้ในการผลิตมันสำปะหลังมากที่สุด แลการรับรู้ผ่านสื่อมวลชนน้อยที่สุด 5) แนวทางการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลัง เรียงลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องพัฒนา ดังนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเข้ามาช่วยเหลือในการจัดการราคามันสำปะหลังที่เหมาะสมกับต้นทุนการผลิต ช่องทางการส่งเสริมต้องวางแผนและดำเนินการผลิตสื่อตามเป้าหมายที่วางไว้โดยให้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ฝึกอบรมพัฒนาให้เจ้าหน้าที่มีความรู้และทักษะเพิ่มขึ้น และส่งเสริมความรู้ ข้อมูลข่าวสาร ให้เป็นไปตามหลักวิชาการ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาช่วย |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13704 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2659002709.pdf | 1.7 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.