กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13704
ชื่อเรื่อง: แนวทางการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรในอำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension guideline of technology utilization for cassava production by farmers in Kut Rang District of Maha Sarakham Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุนันท์ สีสังข์
พลากร จอมนวล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
วนาลัย วิริยะสุธี
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
มันสำปะหลัง--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลส่วนบุคคล สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจ 2) สภาพและปัญหาการผลิตมันสำปะหลัง 3) การได้รับความรู้และการใช้เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลัง 4) ความต้องการและข้อเสนอเกี่ยวกับการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลัง และ 5) แนวทางการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ที่ขึ้นทะเบียนในปีการผลิต 2565/2566 อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 2,562 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ที่ความคลาดเคลื่อน 0.07 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 190 ราย สุ่มตัวอย่างโดยการกำหนดสัดส่วนจำนวนตัวอย่างของแต่ละตำบล และทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายในแต่ละตำบล เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 56.01 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.58 คน แรงงานในครัวเรือนที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 2.64 คน พื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมดเฉลี่ย 24.09 ไร่ พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังเฉลี่ย 11.07 ไร่ รายได้ครัวเรือนภาคการเกษตรทั้งหมดในปี 2566 เฉลี่ย 131,725 บาท รายได้ครังเรือนนอกภาคการเกษตรทั้งหมดเฉลี่ย 55,671.58 บาท ประสบการณ์การปลูกมันสำปะหลังเฉลี่ย 24.66 ปี  2) เกษตรกรส่วนใหญ่มีการปฏิบัติตามหลักวิชาการในด้านการเตรียมท่อนพันธุ์ การเตรียมดิน วิธีการปลูก การให้น้ำ การใส่ปุ๋ย การกำจัดวัชพืช การป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว ผลผลิตมันสำปะหลังเฉลี่ย 2,837.37 กิโลกรัมต่อไร่ รายได้จากการจำหน่ายมันสำปะหลังเฉลี่ย 8,589.32 บาทต่อไร่ ต้นทุนในการผลิตมันสำปะหลังเฉลี่ย 4,266.37 บาทต่อไร่ ปัญหาในการผลิตมันสำปะหลังอยู่ในระดับปานกลาง ประกอบด้วย การจัดหาท่อนพันธุ์สะอาดจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ค่าใช้จ่ายในการเตรียมท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง และการเลือกใช้สารเคมีในการแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง 3) ความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลัง ส่วนใหญ่เกษตรกรมีความรู้อยู่ในระดับมาก ส่วนความรู้มากที่สุด คือ การเตรียมดิน และมีความรู้น้อยที่สุด คือ วิธีการปลูก 4) ในภาพรวมเกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังในระดับปานกลาง โดยความรู้ในการผลิตมันสำปะหลังมากที่สุด แลการรับรู้ผ่านสื่อมวลชนน้อยที่สุด 5) แนวทางการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลัง เรียงลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องพัฒนา ดังนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเข้ามาช่วยเหลือในการจัดการราคามันสำปะหลังที่เหมาะสมกับต้นทุนการผลิต ช่องทางการส่งเสริมต้องวางแผนและดำเนินการผลิตสื่อตามเป้าหมายที่วางไว้โดยให้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ฝึกอบรมพัฒนาให้เจ้าหน้าที่มีความรู้และทักษะเพิ่มขึ้น และส่งเสริมความรู้ ข้อมูลข่าวสาร ให้เป็นไปตามหลักวิชาการ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาช่วย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13704
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2659002709.pdf1.7 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น