กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13705
ชื่อเรื่อง: | การส่งเสริมการเลี้ยงและการผสมเทียมโคเนื้อของเกษตรกรใน อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Extension of raising and artificial insemination of beef cattle by farmers in Tha Sae District, Chumphon Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | บำเพ็ญ เขียวหวาน พรนิภา โพธิ์เงิน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา นารีรัตน์ สีระสาร |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ โคเนื้อ--การเลี้ยง--ไทย--ชุมพร |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สภาพสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ 2) สภาพการเลี้ยงและการผสมเทียมโคเนื้อ 3) ความรู้และแหล่งความรู้การเลี้ยงและการผสมเทียมโคเนื้อ 4) ความคิดเห็นและความต้องการส่งเสริมการเลี้ยงและการผสมเทียมโคเนื้อ 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงและการผสมเทียมโคเนื้อ การวิจัยครั้งนี้ศึกษาจากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อใน อำเภอท่าแซะ ที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานเกษตรปี พ.ศ. 2566 จำนวน 2,055 ราย กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรการประมาณขนาดตัวอย่างของทาโร ยามาเน ที่ความคลาดเคลื่อนที่ 0.07 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 186 คน ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการวิจัย และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการศึกษาพบว่า (1) เกษตรกรร้อยละ 79.6 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 48.93 ปี จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า มีอาชีพหลักเป็นเกษตรกรรม เกษตรกรเป็นสมาชิกกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อ และกลุ่มโครงการส่งเสริมผสมเทียมโคเนื้อ นทพ. ซึ่งมีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 1.70 คน จำนวนแรงงานที่ใช้เลี้ยงโคเนื้อเฉลี่ย 1.38 คน มีรายได้ครัวเรือนเฉลี่ย 309,892.47 บาทต่อปี มีรายได้จากการเลี้ยงโคเฉลี่ย 93,897.84 บาทต่อปี มีรายได้นอกเหนือจากการเลี้ยงโคเฉลี่ย 211,258.06 บาทต่อปี และรายจ่ายจากการเลี้ยงโคเฉลี่ย 2,850.00 บาทต่อเดือน (2) เกษตรกรมีประสบการณ์ในการเลี้ยงโคเนื้อเฉลี่ย 6.40 ปี ซึ่งเลี้ยงโคเพศเมียเป็นหลัก นิยมเป็นสายพันธุ์ลูกผสม มีการทำวัคซีนสม่ำเสมอ มีการกำจัดปรสิตภายใน และเคยกำจัดปรสิตภายนอก เกษตรกรผสมพันธุ์โคเนื้อโดยการผสมเทียมเฉลี่ย 6.39 ครั้ง/ปี โดยมีหน่วยงานภาครัฐเป็นผู้ให้บริการ ซึ่งโคเนื้อส่วนมากไม่เคยเป็นโรคที่ส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ มีเพียงร้อยละ 12.9 ที่เคยเป็นโรคลัมปีสกิน โรคปากและเท้าเปื่อย เกษตรกรมีการจำหน่ายโคเนื้อให้กับเกษตรกรด้วยกันเอง (3) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงและการผสมเทียมโคเนื้อในระดับมากที่สุด โดยได้รับข้อมูลข่าวสารจากสื่อกิจกรรม รองลงมาคือ สื่อออนไลน์ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อบุคคล และสื่อมวลชน ตามลำดับ (4) เกษตรกรมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากด้านการขาดแคลนการผสมเทียมโคเนื้อในประเด็นการบริการด้านผสมเทียมทั่วถึง รองลงมาคือ ด้านความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงและการผสมเทียมโคเนื้อ ด้านการป้องกันโรคระบาดในโคเนื้อ ตามลำดับ และระดับความต้องการอยู่ในระดับมากที่สุดด้านการขาดแคลนการผสมเทียมโคเนื้อในประเด็น หน่วยงานสนับสนุนน้ำเชื้อโคเนื้อในการบริการผสมเทียม รองลงมาคือ ด้านความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงและการผสมเทียมโคเนื้อ ด้านการป้องกันโรคระบาดในโคเนื้อ ตามลำดับ (5) เกษตรกรมีระดับปัญหาอยู่ในระดับมากด้านการขาดแคลนการผสมเทียมโคเนื้อในประเด็นสถานีผสมเทียมอยู่ห่างไกล/การบริการผสมเทียมไม่ทั่วถึงพื้นที่ รองลงมาคือ ด้านการป้องกันโรคระบาดในโคเนื้อ ด้านความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงและการผสมเทียมโคเนื้อ ตามลำดับ และระดับความเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะแนวทางอยู่ในระดับมาก ด้านการขาดแคลนการผสมเทียมโคเนื้อในประเด็นมีการสนับสนุนน้ำเชื้อโคเนื้อสายพันธุ์ต่างๆในการให้บริการ รองลงมาคือ ด้านการป้องกันโรคระบาดในโคเนื้อ ด้านความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงและการผสมเทียมโคเนื้อ ตามลำดับ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13705 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2659002717.pdf | 3.96 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น