Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13711
Title: พฤติกรรมการออมของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูกาญจนบุรี จำกัด
Other Titles: Saving behavior of members of Kanchanaburi Teachers' Savings Cooperative Limited
Authors: วรชัย สิงหฤกษ์
ภาณุพงศ์ อินจีน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
ครู--การเงินส่วนบุคคล
การออมกับการลงทุน
สหกรณ์ออมทรัพย์ครูกาญจนบุรี
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูกาญจนบุรี จำกัด 2) พฤติกรรมการออมของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูกาญจนบุรี จำกัด และ 3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการออมของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูกาญจนบุรี จำกัด การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ สมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูกาญจนบุรี จำกัด จำนวน 12,881 คน ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของ ทาโร ยามาเน่ ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.05  ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 424 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า 1) สมาชิกสหกรณ์มีรายได้ต่อเดือน 15,000-25,000 บาท มีรายจ่ายในการบริโภคต่อเดือน 15,001 – 25,000 บาท และมีภาระหนี้สินน้อยกว่า 100,000 บาทในรอบปีที่ผ่านมา ระดับการปฏิบัติเกี่ยวกับภาวะทางสังคม โดยรวมอยู่ในระดับ ปฏิบัติมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.70 2) พฤติกรรมการออมส่วนใหญ่มีจำนวนเงินออมเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 1,500-2,000 บาท ความถี่ในการออมเป็นรายเดือน และจำนวนเงินออมรวม 50,000-100,000 บาทในรอบปีที่ผ่านมา 3) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลต่อพฤติกรรมการออมของสมาชิกที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ได้แก่อายุ ระยะเวลาการเป็นสมาชิก และจำนวนสมาชิกในครัวเรือน ความสัมพันธ์ของภาวะทางเศรษฐกิจต่อพฤติกรรมการออมของสมาชิกที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ได้แก่ ระดับรายได้ต่อเดือน และภาระหนี้สิน และความสัมพันธ์ของภาวะทางสังคมต่อพฤติกรรมการออมของสมาชิกที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05  ได้แก่ การให้ความสำคัญกับการเปรียบเทียบราคาสินค้า และความพอใจกับสถานะทางการเงิน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13711
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2659002816.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.