กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13711
ชื่อเรื่อง: Saving Behavior of Members of Kanchanaburi Teachers' Savings Cooperative Limited
พฤติกรรมการออมของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูกาญจนบุรี จำกัด
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: Panupong Injeen
ภาณุพงศ์ อินจีน
Warachai Singharerk
วรชัย สิงหฤกษ์
Sukhothai Thammathirat Open University
Warachai Singharerk
วรชัย สิงหฤกษ์
[email protected]
[email protected]
คำสำคัญ: พฤติกรรมการออม รูปแบบการออม พฤติกรรมการบริโภค
Saving behavior
Saving form
Consumer behavior
วันที่เผยแพร่:  13
สำนักพิมพ์: Sukhothai Thammathirat Open University
บทคัดย่อ: The objectives of this research were to study 1) economic and social conditions of Kanchanaburi teachers’ savings cooperative limited members 2) saving behaviors of Kanchanaburi teachers’ savings cooperative limited members and 3) factors relating to the saving behavior of Kanchanaburi teachers’ savings cooperative limited members.                   This research was survey research. The population of this study was 12,881 Kanchanaburi teachers’ savings cooperative limited members on 30th November 2023. The sample size of 424 people was determined by using Taro Yamane formula with the error value of 0.05 through using simple random sampling method. Data were collected by using questionnaires. Data were then analyzed by using descriptive statistics such as frequency, percentage, mean, standard deviation, Chi-square, and content analysis.                   The results of the study showed that 1) Cooperative members have monthly income of 15,000-25,000 Baht, had the monthly expense in the consumption of  15,001 – 25,000 Baht, and had the liabilities less than 100,000 Baht in the past year. The level of practice on social condition, overall, was at the high practice level with the mean of 3.70. 2) Most of the saving behavior had the average amount of saving per month of 1,500-2,000 Baht. The frequency in the savings per month and the total saving amount was  50,000-100,000 Baht in the past year. 3) The relationships of personal factors toward the saving behaviors of members at statistically significant level of 0.05 were such as age, membership time, and number of members in the household. The relationships of economic factors toward the saving behaviors of members at statistically significant level of 0.05 were such as level of income per month and liabilities.  The relationships of social factors toward the saving behaviors of members at statistically significant level of 0.05 were such as the focus giving and the comparison of the product price and the satisfaction with the financial status.
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูกาญจนบุรี จำกัด 2) พฤติกรรมการออมของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูกาญจนบุรี จำกัด และ 3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการออมของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูกาญจนบุรี จำกัด                   การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ สมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูกาญจนบุรี จำกัด จำนวน 12,881 คน ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของ ทาโร ยามาเน่ ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.05  ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 424 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา                   ผลการศึกษา พบว่า 1) สมาชิกสหกรณ์มีรายได้ต่อเดือน 15,000-25,000 บาท    มีรายจ่ายในการบริโภคต่อเดือน 15,001 – 25,000 บาท และมีภาระหนี้สินน้อยกว่า 100,000 บาทในรอบปีที่ผ่านมา ระดับการปฏิบัติเกี่ยวกับภาวะทางสังคม โดยรวมอยู่ในระดับ ปฏิบัติมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.70 2) พฤติกรรมการออมส่วนใหญ่มีจำนวนเงินออมเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 1,500-2,000 บาท ความถี่ในการออมเป็นรายเดือน และจำนวนเงินออมรวม 50,000-100,000 บาทในรอบปีที่ผ่านมา 3) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลต่อพฤติกรรมการออมของสมาชิกที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ได้แก่อายุ ระยะเวลาการเป็นสมาชิก และจำนวนสมาชิกในครัวเรือน ความสัมพันธ์ของภาวะทางเศรษฐกิจต่อพฤติกรรมการออมของสมาชิกที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ได้แก่ ระดับรายได้ต่อเดือน และภาระหนี้สิน และความสัมพันธ์ของภาวะทางสังคมต่อพฤติกรรมการออมของสมาชิกที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05  ได้แก่ การให้ความสำคัญกับการเปรียบเทียบราคาสินค้า และความพอใจกับสถานะทางการเงิน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13711
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2659002816.pdf1.3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น