Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13712
Title: | Analysis of the Performance and Financial Status for Financial Management of the Prapokklao Hospital Saving and Credit Cooperative Limited การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานและฐานะการเงินเพื่อการบริหารการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์โรงพยาบาลพระปกเกล้า จำกัด |
Authors: | Khanittha Pansiri ขนิษฐา พรรณศิริ Wilawan Sillapasorn วิลาวัลย์ ศิลปศร Sukhothai Thammathirat Open University Wilawan Sillapasorn วิลาวัลย์ ศิลปศร [email protected] [email protected] |
Keywords: | ผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน แนวทางการบริหารการเงิน Performance Financial status Financial management guideline |
Issue Date: | 28 |
Publisher: | Sukhothai Thammathirat Open University |
Abstract: | The objectives of this study were to 1) analyze the operation and financial status 2) study the operational trends and financial status and 3) suggest the financial management guidelines of Prapokklao hospital saving and credit cooperative limited. This study collected the data from secondary data by collecting the data from financial status report, income statement, notes to financial report , and other financial documents of the cooperative in the fiscal year 2021-2023. The data analysis was done by using common size analysis, trend analysis, financial ratio analysis, CAMELS analysis by comparing the means of the cooperatives with the same size of the cooperative auditing department. The results of this study found that 1) performance and financial status in the fiscal year 2021-2023 showed that the performance yielded the constant increase in the profit all through the past 3 years. During the year 2021, the net profit was at 66.87%, During the year 2022, the net profit was at 67.83%, and during the year 2023, the profit was at 64.83% of the revenue. Regarding the financial status, the cooperative invested in non-current assets more than current assets with the ratio of 61.41-77.84% of total assets. The cooperative had current liabilities more than non-current liabilities at the ratio of 50.92 – 59.93% of liabilities and capital. For the capital of the cooperative, the comparisons were from 2021-2023 with the ratio of 40.01 - 49.01% of liabilities and capital. 2) Regarding the trend of the performance and financial status, the revenue performance increased higher every year in comparison with the base period. For the expense, it was decreased in 2022 at the rate of 98.56% and increased in 2023 at the rate of 118.55% of the base period. The liabilities had the rate of 153.81% of the base period and the capital at the rate of 112.76% of the base period. The results of CAMELS analysis in comparison with the mean of the same size cooperatives revealed that for 1st dimension: the sufficiency of capital per risk, it showed that the cooperative had the risk in repayment of the cooperative higher than the mean but had financial security closer to the mean; 2nd dimension : quality of the assets, it showed that the cooperative had a capability in asset management with the lower efficiency than the mean but the cooperative was still able to management the growth of the assets higher than the mean efficiency; 3rd dimension : management, the cooperative had a capability in the management and had higher efficiency than the mean; 4th dimension: profit making, the cooperative was able to make profit per member rather higher than the mean every year and the cooperative was still able to manage and made profit per income higher than the mean in every year; 5th dimension: financial liquidity, the cooperative was efficient in managing current assets better and had higher liquidity higher than the mean; 6th dimension, the impact toward the business, it showed that the cooperative tended to receive the impact on the operation of the cooperative as the factors of higher interest rate every year. 3) Financial management guidelines included financial planning and consistent financial planning review, appropriately good management, financial risk control and evaluation, close-up economic situation following up, and carefulness in the investment. การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงิน 2) ศึกษาแนวโน้มผลการดำเนินงานและฐานะการเงิน และ3) เสนอแนะแนวทางการบริหารการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์โรงพยาบาลพระปกเกล้า จำกัดการศึกษานี้เป็นการเก็บข้อมูลทุติยภูมิ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารรายงานงบฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน หมายเหตุประกอบงบการเงิน และเอกสารทางการเงินอื่นๆ ของสหกรณ์ ในช่วงปีบัญชี 2564 -2566 การวิเคราะห์ข้อมูล โดยวิธีการวิเคราะห์ย่อส่วนตามแนวดิ่ง การวิเคราะห์แนวโน้มแบบฐานคงที่ และการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน แบบวิเคราะห์ในมุมมอง 6 มิติโดยเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยสหกรณ์ขนาดเดียวกันของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงิน ในช่วงปี 2564 – 2566 ผลการดำเนินงานมีกำไรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องกันตลอดระยะเวลา 3 ปี ซึ่งในระว่างปี 2564 มีกำไรสุทธิร้อยละ 66.87 ในระหว่างปี 2565 มีกำไรสุทธิร้อยละ 67.83 และในระหว่างปี 2566 มีกำไรสุทธิร้อยละ 64.83 ของยอดรายได้ ทางด้านฐานะทางการเงินสหกรณ์ลงทุนในสินทรัพย์ ไม่หมุนเวียนมากกว่าลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน มีอัตราส่วนร้อยละ 61.41 – 77.84 ของสินทรัพย์รวม มีหนี้สินหมุนเวียนมากกว่าหนี้สินไม่หมุนเวียน ในอัตราร้อยละ 50.92 – 59.93 ของหนี้สินและทุน ส่วนทุนของสหกรณ์ เปรียบเทียบตั้งแต่ปี 2564 – 2566 มีอัตราส่วนร้อยละ 40.01 - 49.01 ของหนี้สินและทุน 2) แนวโน้มผลการดำเนินงานและฐานะการเงิน ผลการดำเนินงานรายได้ปรับตัวสูงขึ้นทุกปีเมื่อเปรียบเทียบกับปีฐาน ส่วนค่าใช้จ่ายลดลงในปี 2565 ในอัตราร้อยละ 98.56 และเพิ่มสูงขึ้นในปี 2566 ในอัตราร้อยละ 118.55 ของปีฐาน และฐานะการเงิน โดยสินทรัพย์ หนี้สิน และทุน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี สูงสุดในปี 2566 ซึ่งสินทรัพย์รวมมีอัตราร้อยละ 134.26 ของปีฐาน หนี้สินมีอัตราร้อยละ 153.81 ของปีฐาน และทุนมีอัตราร้อยละ 112.76 ของปีฐาน ผลการวิเคราะห์ CAMELS เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยสหกรณ์ที่มีขนาดเดียวกัน มิติที่ 1 ความเพียงพอของเงินทุนต่อความเสี่ยง พบว่าสหกรณ์มีความเสี่ยงในการชำระหนี้ของสหกรณ์สูงกว่าค่าเฉลี่ย แต่ก็ยังมีความมั่นคงทางการเงินใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ย มิติที่ 2 คุณภาพของสินทรัพย์ สหกรณ์มีความสามารถในการบริหารสินทรัพย์ที่มีประสิทธิภาพต่ำกว่าค่าเฉลี่ย แต่สหกรณ์ก็ยังมีความสามารถในการบริหารการเติบโตของสินทรัพย์มีประสิทธิภาพสูงกว่าค่าเฉลี่ย มิติที่ 3 การบริหารจัดการ สหกรณ์มีขีดความสามารถในการบริหารและมีประสิทธิภาพสูงกว่าค่าเฉลี่ย มิติที่ 4 การทำกำไร สหกรณ์มีความสามารถในการทำกำไรต่อสมาชิกค่อนข้างสูงกว่าค่าเฉลี่ยทุกปี และสหกรณ์ก็ยังมีความสามารถในการบริหารกิจการให้มีกำไรต่อรายได้สูงกว่าค่าเฉลี่ยทุกปี มิติที่ 5 สภาพคล่องทางการเงิน สหกรณ์มีประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์หมุนเวียนดีขึ้นและมีสภาพคล่องสูงกว่าค่าเฉลี่ย มิติที่ 6 ผลกระทบต่อธุรกิจ สหกรณ์ยังมีแนวโน้มได้รับผลกระทบต่อการดำเนินการสหกรณ์เป็นปัจจัยของอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นตลอดปี และ3) แนวทางการบริหารการเงิน มีการวางแผนทางการเงิน และทบทวนการวางแผนทางการเงินอย่างสม่ำเสมอ การจัดการที่ดีเหมาะสม ตรวจสอบได้ มีการควบคุมและประเมินความเสี่ยงทางการเงิน ติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด และมีความระมัดระวังในการลงทุน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13712 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2659002824.pdf | 2.93 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.