กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13713
ชื่อเรื่อง: Extension of Maize Production for Farmers in Nakhonthai District, Phitsanulok Province.
การส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรในอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: wirat kongpanna
วิรัตน์ คงปันนา
Nareerut Seerasarn
นารีรัตน์ สีระสาร
Sukhothai Thammathirat Open University
Nareerut Seerasarn
นารีรัตน์ สีระสาร
[email protected]
[email protected]
คำสำคัญ: การส่งเสริม การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ความต้องการการส่งเสริม ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
Extension
Maize production
Extension needs
Maize
วันที่เผยแพร่:  27
สำนักพิมพ์: Sukhothai Thammathirat Open University
บทคัดย่อ: The objectives of this research were study 1) personal information social and economic conditions of farmers, 2) conditions of farmers' maize production, 3) farmers' extension needs for maize production, and 4) problems and suggestions for extension maize production of farmers.            This research is a survey research. The study population was farmers who produce maize production in Nakhon Thai District, Phitsanulok Province that registered with the Department of Agricultural Extension In Phitsanulok Province, in 2022/2023, there were 3,673 cases. The sample was determined using the Taro yamane formula with an error of 0.05, resulting in a sample of 361 people using a simple random sampling method. The tool used was an interview form. Data were analyzed using frequency distribution, percentage, minimum, maximum, standard deviation, and ranking.            The results of the research found that 1) 59.8 percent of farmers were female, with an average age of 53.74 years, 56.8 percent had completed primary school. There was an average of 3.96 household members, 2.18 agricultural workers, and an average of 17.84 years of experience producing maize. The average maize yield was 682.63 kilograms per rai. 2) 73.4 percent of farmers were flat planting areas. The average rate of seed was used 4.8 kilograms per rai, planting spacing was 75 cm. and use chemicals to prevent and eliminate insects, use machinery for harvesting. The average harvest time for maize was 117.67 days. 3) Farmers extension needs knowledge at a high level in 2 areas: maintenance. Followed by production costs, methods of extension, farmers' needs were moderate level. In terms of supporting farmers at a high level. 4) Problems with extension of maize production in supporting the production of maize at a high level; the issue of purchasing produce does not meet the guaranteed price.  In terms of knowledge issues, farmers have problems at a high level, maintenance aspect.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลส่วนบุคคล สภาพสังคมและเศรษกิจของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร 3) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรที่ผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร ในจังหวัดพิษณุโลก ปี2565/2566 จำนวน 3,673 รายกำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยสูตร ทาโรยามาเน มีความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง 361 ราย โดยวิธีสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการจัดอันดับผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 59.8 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 53.74 ปี ร้อยละ 56.8 จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา มีสมาชิกครัวเรือนเฉลี่ย 3.96 คน มีแรงงานในการทำเกษตร 2.18 คน มีประสบการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ย 17.84 ปี ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ได้เฉลี่ย 682.63 กิโลกรัมต่อไร่ 2) เกษตรกรร้อยละ 73.4 มีลักษณะพื้นที่ปลูกเป็นที่ราบ ใช้เมล็ดพันธุ์อัตราเฉลี่ย 4.8 กิโลกรัมต่อไร่ ร้อยละ 59.6 ใช้ระยะปลูก 75 ซม. X 25 ซม. ร้อยละ 91.1 พบหนอนกระทู้ลายจุด ร้อยละ 98.9 ใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดแมลง ร้อยละ 59.0 ใช้เครื่องจักรในการเก็บเกี่ยว อายุเก็บเกี่ยวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ย 117.67 วัน 3) เกษตรกรมีต้องการการส่งเสริมในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่าด้านความรู้เกษตรกรมีความต้องการในระดับมาก 2 ด้านคือ ด้านการดูแลรักษา รองลงมาด้านต้นทุนการผลิต ด้านวิธีการส่งเสริม เกษตรกรต้องการอยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด ในด้านการสนับสนุนเกษตรกรมีความต้องการอยู่ในระดับมาก 4) ปัญหาเกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในด้านการสนับสนุนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในระดับมาก คือ การรับซื้อผลผลิตไม่เป็นไปตามราคาที่รับประกันไว้ ในด้านประเด็นความรู้เกษตรกรมีปัญหาอยู่ในระดับมากคือ ด้านการดูแลรักษา ด้านการเก็บเกี่ยว และด้านต้นทุนการผลิต ในด้านวิธีการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในภาพรวมพบว่าเกษตรกรมีปัญหาอยู่ในระดับน้อย ข้อเสนอแนะการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรเกษตรกรมีความเห็นด้วยในระดับมาก คือควรสนับสนุนแหล่งสินเชื่อที่ดอกเบี้ยตํ่าแก่เกษตรกร ควรใช้วิธีการส่งเสริมแบบมวลชนในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และควรให้ความรู้เกี่ยวกับต้นทุนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13713
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2659002832.pdf1.2 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น