กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13717
ชื่อเรื่อง: โมเดลการส่งเสริมการผลิตสัตว์น้ำชายฝั่งเพื่อพัฒนามาตรฐานการผลิตในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนของไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension model of coastal aquaculture production for standard development in The Upper South of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จินดา ขลิบทอง
วรพงษ์ นลินานนท์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ
ดวงใจ พิสุทธิ์ธาราชัย
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
สัตว์น้ำ--การผลิต
มาตรฐานการผลิต--ไทย (ภาคใต้)
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปทางสังคม เศรษฐกิจ และสภาพการผลิตของเกษตรกร ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนของไทย 2) ความต้องการความรู้ในมาตรฐานการผลิต ช่องทางการส่งเสริมและวิธีการส่งเสริมผลิตสัตว์น้ำชายฝั่งของเกษตรกร 3) พัฒนาโมเดลการส่งเสริมการผลิตสัตว์น้ำชายฝั่ง เพื่อพัฒนามาตรฐาน การผลิตในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนของไทย และ 4) การประเมินความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องกับโมเดล การวิจัยนี้เป็นแบบผสมวิธี ประชากร คือ 1) เกษตรกรผู้ผลิตสัตว์น้ำชายฝั่งในพื้นภาคใต้ตอนบนของไทย จำนวน 213 ราย กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ที่ความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 158 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่าย 2) นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญการส่งเสริมการผลิตสัตว์น้ำชายฝั่ง คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 6 ราย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์เชิงลึก การประเมินตามแบบประเมิน และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูล โดยสถิติพรรณนา การวิเคราะห์องค์ประกอบ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 36-45 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สถานภาพสมรส สมาชิกในครัวเรือน 4 คน สัตว์น้ำที่เกษตรกรเพาะเลี้ยงมากที่สุดเป็นกุ้ง แรงงานที่ใช้ผลิตสัตว์น้ำ 2 คน ประสบการณ์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 3-5 ปี ร้อยละ 62.70 ไม่เป็นสมาชิกของกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ร้อยละ 97.50  ไม่มีตำแหน่งทางสังคม มีกำลังการผลิตสัตว์น้ำเฉลี่ย 75.51 ตันต่อปี  ขนาดพื้นที่ฟาร์มเฉลี่ย 9.20 ไร่ ร้อยละ 27.80 มีจำนวนบ่อเลี้ยงเฉลี่ย 2 บ่อ มีอาชีพรอง คือ การทำสวนปาล์มน้ำมัน รายได้จากอาชีพหลัก 364,303.80 บาท/เดือน รายได้จากอาชีพรอง 38,803.80 บาท/เดือน และร้อยละ 86.10 ได้รับมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในการผลิตสัตว์น้ำ 2)  เกษตรกรต้องการความรู้ในด้าน สถานที่ผลิตสัตว์น้ำ การจัดการฟาร์ม การใช้ยาและสารเคมีในระดับมาก เกษตรกรมีความต้องการช่องทางการส่งเสริมผ่านสื่อราชการ/เอกชน คู่มือ และอินเตอร์เน็ต และต้องการวิธีการส่งเสริมแบบอบรมเชิงปฏิบัติการ 3) โมเดลการส่งเสริมการผลิตสัตว์น้ำชายฝั่งเพื่อพัฒนามาตรฐานการผลิตมี 5 องค์ประกอบ คือ (1) กระบวนการผลิตสัตว์น้ำ (2) ปัจจัยการผลิต (3) การจัดการของเสียในฟาร์ม (4) การบันทึกข้อมูล และ (5) สถานที่ตั้งฟาร์ม พัฒนาเป็นโมเดลการส่งเสริมการผลิตสัตว์น้ำชายฝั่งเพื่อพัฒนามาตรฐานการผลิตในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนของไทย จำนวน 5 ส่วน ประกอบด้วย (1) นักส่งเสริมการเกษตร (2) องค์ความรู้ในการจัดทำมาตรฐาน (3) วิธีการส่งเสริม (4) เกษตรกร และ (5) ผลที่ได้จากการมีมาตรฐานการผลิต 4) ความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องกับโมเดล มีความเห็นด้วยมากที่สุดในด้านความเหมาะสมความเป็นไปได้ ความสอดคล้องกับบริบทและการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงจากผู้ที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13717
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
4579000060.pdf4.09 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น