กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13719
ชื่อเรื่อง: | โมเดลการใช้สื่อใหม่เพื่อการส่งเสริมและพัฒนาการเลี้ยงกุ้งทะเลของประเทศไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Model of new media using for extension and development of shrimp culture in Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม พลอยปภัส วิริยะธาดาศักดิ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา บำเพ็ญ เขียวหวาน นิติ ชูเชิด |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ การเพาะเลี้ยงกุ้ง--ไทย |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบท สภาพปัญหาและความต้องการการส่งเสริมการใช้สื่อใหม่ 2) ศึกษาสภาพพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ สังคม การใช้สื่อและสื่อใหม่ และความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการใช้สื่อใหม่ 3) ศึกษาความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติ และปัจจัยที่สัมพันธ์กับความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการใช้สื่อใหม่ 4) วิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ประกอบของโมเดลการใช้สื่อใหม่ และ 5) พัฒนาโมเดลและประเมินโมเดลการใช้สื่อใหม่ การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเลของประเทศไทย 40,983 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน่ ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.06 ได้ 276 ราย สุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนเกษตรกรในแต่ละภาค เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ การพัฒนาโมเดลและประเมินโมเดล กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เชี่ยวชาญ 12 ราย และเกษตรกร 40 ราย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรมีการใช้เทคโนโลยี ได้แก่ เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ระบบการจัดการฐานข้อมูล การใช้โซเชียลมีเดีย และแอปพลิเคชันในการเลี้ยงกุ้งทะเล แต่ยังมีปัญหาในการใช้สื่อใหม่ในด้านผู้ส่งสาร เนื้อหา ช่องทาง และผู้รับสาร 2) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 47.17 ปีจบการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์ในการเลี้ยงกุ้งทะเลเฉลี่ย 12.02 ปี ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่ม/สถาบันเกษตรกร ได้รับข่าวสารจากเพื่อนเกษตรกร การอบรมสัมมนา กิจกรรมต่างๆ และสื่อเพจเฟซบุ๊ก 3) เกษตรกรมีความรู้และทัศนคติในการใช้สื่อใหม่อยู่ในระดับมาก มีการปฏิบัติในระดับมากที่สุด โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา การเป็นสมาชิกกลุ่มและสถาบัน การใช้สื่อเพจเฟซบุ๊ก การใช้สื่อยูทูบ การใช้สื่อเว็บไซต์ 4) องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการใช้สื่อใหม่ ได้แก่ ผู้ส่งสาร สาร ช่องทาง และผู้รับสาร ที่เหมาะสมช่วยให้การสื่อสารเกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้งทะเลมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของเกษตรกรเป้าหมาย 5) โมเดลการใช้สื่อใหม่เพื่อการส่งเสริมและพัฒนาการเลี้ยงกุ้งทะเลของประเทศไทย มีองค์ประกอบได้แก่ ผู้ส่งสาร ข้อมูลข่าวสาร ช่องทางการสื่อสาร และผู้รับสาร และการประเมินโมเดลในด้านความเหมาะสมความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ พบว่า ด้านปัจจัยนำเข้า และกระบวนการ อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านผลผลิต/ผลลัพธ์อยู่ในระดับมาก |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13719 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
4609000072.pdf | 2.31 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น