Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13722
Title: | ปัจจัยที่มีผลต่อรายได้จากการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันของประเทศไทย |
Other Titles: | Factors Influencing Excise Tax Income on oil and oil products of Thailand |
Authors: | วสุ สุวรรณวิหค ภัทรภร ตลับกลาง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี ภาษีน้ำมัน--ไทย การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) โครงสร้างการบริโภคและภาษีสรรพสามิตน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันของประเทศไทย และ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อรายได้จากการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันของประเทศไทย การศึกษาโครงสร้างการบริโภคภาษีสรรพสามิตน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันใช้ข้อมูลทุติยภูมิ แบบอนุกรมเวลารายปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558-2565 วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สำหรับการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อรายได้จากการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันใช้ข้อมูลทุติยภูมิ แบบอนุกรมเวลารายเดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2546 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณโดยประมาณค่าด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด ผลการศึกษาพบว่า 1) การผลิตน้ำมันของประเทศไทยจะเป็นการนำเข้าน้ำมันดิบเพื่อนำมากลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูปและผลิตภัณฑ์ต่างๆ บางช่วงเวลามีการนำเข้าหรือส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปเมื่อการผลิตและการใช้ไม่สมดุลกัน พ.ศ.2558 - 2562 การใช้น้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น คิดเป็นอัตราเฉลี่ยร้อยละ 2.44 ต่อปี พ.ศ.2563-2564 การใช้น้ำมันสำเร็จรูปลดลง คิดเป็นอัตราเฉลี่ยร้อยละ 7.94 ต่อปี และเมื่อเศรษฐกิจเริ่มกลับสู่ภาวะปกติจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2565 การใช้น้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นเป็น 55,309.72 ล้านลิตร หรือคิดเป็นร้อยละ 13.41 เมื่อเทียบกับปีก่อน การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันจัดเก็บจากกระบวนการผลิตและการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูป ในแต่ละผลิตภัณฑ์จัดเก็บในอัตราที่แตกต่างกันซึ่งในปี พ.ศ.2565 จัดเก็บรายได้ จำนวน 167,587.73 ล้านบาท โดยจัดเก็บจากภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล ร้อยละ 62.82 ภาษีสรรพสามิตน้ำมันเบนซิน ร้อยละ 30.66 ภาษีก๊าซปิโตรเลียมเหลว ร้อยละ 4.15 ตามลำดับ และ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อรายได้จากการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันเบนซิน ได้แก่ ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 ปริมาณการใช้น้ำมันเบนซิน และราคานำเข้าน้ำมันดิบ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล ได้แก่ ราคาน้ำมันดีเซล ปริมาณการใช้น้ำมันดีเซล โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และราคานำเข้าปิโตรเลียม โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และปัจจัยที่มีผลต่อการจัดเก็บภาษีก๊าซปิโตรเลียมเหลว ได้แก่ ปริมาณการใช้ก๊าซแอลพีจี โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และดัชนีพลังงาน โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13722 |
Appears in Collections: | Econ-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2606000095.pdf | 1.69 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.