กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13723
ชื่อเรื่อง: | Factors Influencing the Decisions to Spend Money through the Paotang Application in Mueang Nakhon Pathom District, Nakhon Pathom Province ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้จ่ายเงินผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง ในอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | WARUNYA THONGNUAL วรัญญา ทองนวล Pithak Srisuksai พิทักษ์ ศรีสุขใส Sukhothai Thammathirat Open University Pithak Srisuksai พิทักษ์ ศรีสุขใส [email protected] [email protected] |
คำสำคัญ: | กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ แอปพลิเคชันเป๋าตัง การถดถอยโลจิสติกแบบทวิ สมการถดถอยพหุคูณ Paotang application Binary logistic Multiple regression analysis |
วันที่เผยแพร่: | 17 |
สำนักพิมพ์: | Sukhothai Thammathirat Open University |
บทคัดย่อ: | This independent study aims to 1) examine the behavior of spending through the Paotang application in Mueang Nakhon Pathom District, Nakhon Pathom Province, 2) study the factors influencing the decision to spend through the Paotang application in the same area, and 3) study the factors influencing the opportunities to spend money through the Paotang application in Mueang Nakhon Pathom District, Nakhon Pathom. The samples used in this study consisted of 400 people who represented the population of Mueang Nakhon Pathom District, Nakhon Pathom Province, aged between 18 and 60 years, including those who had and had not previously used the Paotang application for payments. The calculation method of sample size for an unknown population size applied the W.G. Cochran's with a 0.05 level of statistical significance. Data was collected through convenience sampling method. The analysis uses the descriptive statistics, the multiple regression analysis, and the binary logistic regression analysis.The study found that 1) out of 322 participants who had used the Paotang application, most were female, with an average age of 37.26 years, and were single, and held a bachelor's degree or equivalent, and worked as government officials or state enterprise employees, and had an average monthly income of 24,948.00 baht, an average monthly savings of 2,018.45 baht, and an average monthly debt of 4,978.00 baht. Regarding the importance level of factors influencing spending through the Paotang application, it was found that most users rated these factors as highly important, except for the factor concerning the security threat from "call center scams," which was rated as moderately important. For those who had never used the Paotang application, advertising and promotion for app accessibility, government economic stimulus policies, app services that match tastes and preferences, and security concerns regarding "call center scams" were rated as moderately important. 2) With regards to the factors influencing the decision to spend through the application in the same area, the hypothesis testing on demographic factors revealed that gender, age, marital status, education level, occupation, average monthly income, and average monthly savings significantly influenced the decisions to spend money through the Paotang application. Multiple regression analysis showed that the only factor significantly influencing decisions to spend money through the Paotang application was security concerns regarding "call center scams”. 3) In terms of the factors influencing the opportunities to spend money through the application in the area, the logistic regression reliability test showed that the model could correctly predict the non-users at a rate of 79.5% and users at a rate of 96.9%. Factors that were found to increase the likelihood of decisions to spend money through the Paotang application included gender, age, education level, occupation (trading and general labor), average monthly income, average monthly debt, app services that match tastes and preferences, fees/service charges, the economic situation at different times, and security concerns regarding "call center scams." การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการจ่ายเงินโดยผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง ในอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้จ่ายเงินผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง ในอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อโอกาสในการใช้จ่ายเงินผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง ในอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐมกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามีจำนวน 400 คน เป็นตัวแทนประชากรในอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม มีอายุระหว่าง 18 – 60 ปี ที่เคยใช้และไม่เคยใช้จ่ายเงิน ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง การคำนวณกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ทราบจำนวนประชากรใช้วิธีของ W.G. Cochran ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก และวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติคแบบสองทางเลือก ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เคยใช้จ่ายเงินผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง จำนวน 322 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 37.26 ปี มีสถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า มีอาชีพข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 24,948.00 บาท มีจำนวนเงินออมเฉลี่ยต่อเดือน 2,018.45 บาท และจำนวนหนี้สินที่ต้องชําระเฉลี่ยต่อเดือน 4,978.00 บาท ด้านระดับความสำคัญของปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้จ่ายเงินผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง พบว่า กลุ่มที่ใช้จ่ายเงินผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตังส่วนใหญ่ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้จ่ายเงินผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตังส่วนใหญ่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ยกเว้นปัจจัยด้านความไม่ปลอดภัยจาก “แก๊งคอลเซ็นเตอร์” ที่อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มที่ไม่เคยใช้จ่ายเงินผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง มีความคิดเห็นว่าปัจจัยด้านการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ในการเข้าถึงแอปพลิเคชัน นโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล รูปแบบการให้บริการของแอปพลิเคชันที่ตรงกับรสนิยมและความชอบ และความไม่ปลอดภัยจาก “แก๊งคอลเซ็นเตอร์” มีความสำคัญอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ พบว่า ปัจจัยด้านเพศ ปัจจัยด้านอายุ ปัจจัยด้านสถานภาพ ปัจจัยด้านระดับการศึกษา ปัจจัยด้านอาชีพ ปัจจัยรายได้เฉลี่ยต่อเดือน และปัจจัยด้านเงินออมเฉลี่ยต่อเดือน มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้จ่ายเงินผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง ผลการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ พบว่า ปัจจัยด้านความไม่ปลอดภัยจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เพียงปัจจัยเดียวที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้จ่ายเงินผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตังที่ และผลการตรวจสอบความเชื่อถือได้ของสมการถดถอยเชิงโลจิสติก พบว่า สมการ ฯ สามารถ พยากรณ์ กลุ่มที่ไม่เคยใช้จ่ายเงินผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตังได้ถูกต้อง ร้อยละ 79.5 ส่วนกลุ่มที่ใช้จ่ายเงินผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง สามารถพยากรณ์ได้ถูกต้องร้อยละ 96.9 ปัจจัยที่จะส่งผลต่อโอกาสที่จะตัดสินใจใช้จ่ายเงินผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตังเพิ่มขึ้น ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพค้าขาย อาชีพรับจ้างทั่วไป รายได้เฉลี่ยต่อเดือน จำนวนหนี้สินที่ต้องชำระเฉลี่ยต่อเดือน รูปแบบการให้บริการของแอพพลิเคชันที่ตรงกับรสนิยม และความชอบ ค่าธรรมเนียม/ค่าบริการในการใช้บริการในแอพพลิเคชัน สภาพเศรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลา และความไม่ปลอดภัยจาก “แก๊งคอลเซ็นเตอร์” |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13723 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Econ-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2606000822.pdf | 1.45 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น