Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13731
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อรายได้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย
Other Titles: Factors Affecting Revenue of Provincial Administrative Organizations in Thailand
Authors: วสุ สุวรรณวิหค
งามฟ้า ฟูนาโคชิ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
องค์การบริหารส่วนจังหวัด--รายได้
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) โครงสร้างและการเติบโตของรายได้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด และ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อรายได้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทยการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) 76 แห่งในประเทศไทย ไม่รวม กทม. เนื่องจากเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิลักษณะภาคตัดขวางแบบต่อเนื่องระดับจังหวัด 76 จังหวัดในช่วงระยะเวลา 7 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559-2565 ใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาโครงสร้างและการเติบโต และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อรายได้ของ อบจ. ได้แก่ รายได้ที่จัดเก็บเอง รายได้ที่รัฐบาลเก็บแล้วจัดสรรให้ และรายได้เงินอุดหนุน ผลการศึกษา พบว่า 1) รายได้ของ อบจ. ที่คิดเป็นสัดส่วนมากที่สุด ได้แก่ รายได้รับจัดสรร (ร้อยละ58.19) รองลงมา ได้แก่ รายได้เงินอุดหนุนและรายได้จัดเก็บเอง (ร้อยละ 34.29 และ 7.74 ตามลำดับ) รายได้รับจัดสรรส่วนใหญ่เป็นภาษีการบริโภค ได้แก่ ภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์ ภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 3.12 ด้านเงินอุดหนุน พบว่า เงินอุดหนุนประเภททั่วไปมีสัดส่วนมากกว่าประเภทเฉพาะกิจเนื่องจากเป็นไปตามภารกิจหน้าที่ตามกฎหมาย อย่างไรก็ดี มีแนวโน้มลดลงจากการถ่ายโอนภารกิจให้เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัด โดยมีอัตราลดลงเฉลี่ยร้อยละ 3.07 ต่อปี รายได้จัดเก็บเอง ส่วนใหญ่มาจากภาษีสถานการค้ายาสูบ นอกจากนั้นเป็นรายได้ภาคบริการและรายได้อื่น โดยมีอัตราลดลงเฉลี่ยร้อยละ 4.60 ต่อปี และ 2) ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อรายได้ พบว่า ผลิตภัณฑ์จังหวัด สัดส่วนผลิตภัณฑ์จังหวัดภาคบริการ จำนวนหมู่บ้าน สัดส่วนคนจน สัดส่วนเด็ก จำนวนประชากรและภูมิภาค (ภาคเหนือ) มีความสัมพันธ์ต่อรายได้รับจัดสรร ในขณะที่ผลิตภัณฑ์จังหวัด สัดส่วนผลิตภัณฑ์จังหวัดภาคบริการ สัดส่วนผลิตภัณฑ์จังหวัดภาคอุตสาหกรรม จำนวนหมู่บ้าน ภูมิภาค (ภาคกลางและภาคเหนือ) สัดส่วนคนจน ขนาดพื้นที่รับผิดชอบและจำนวนประชากรมีความสัมพันธ์ต่อเงินอุดหนุน และสัดส่วนผลิตภัณฑ์จังหวัดภาคบริการ สัดส่วนเด็ก สัดส่วนผู้สูงอายุและภูมิภาค (ภาคใต้) มีความสัมพันธ์ต่อรายได้จัดเก็บเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13731
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2636000602.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.