Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13735
Title: | อรรถประโยชน์ที่เป็นตัวเงินต่อที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุที่มีระบบดูแลต่อเนื่องของข้าราชการในฝ่ายพลเรือนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล |
Other Titles: | Monetary Utility of Continuing Care Retirement Community for Civil Service in the Bangkok Metropolitan and Perimeter |
Authors: | พัชรี ผาสุข กฤติน อัศววิชัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เฉลิมพล จตุพร |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์--วิทยานิพนธ์ ผู้สูงอายุ--ที่อยู่อาศัย ข้าราชการพลเรือน--ที่อยู่อาศัย |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาคุณลักษณะของที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุที่มีระบบดูแลต่อเนื่องของข้าราชการฝ่ายพลเรือนในกรุงเทพฯและปริมณฑล และ (2) ศึกษาอรรถประโยชน์ที่เป็นตัวเงินของที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุที่มีระบบดูแลต่อเนื่องของข้าราชการฝ่ายพลเรือนในกรุงเทพฯและปริมณฑล ประชากร คือ ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 212,133 คน และกลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการในฝ่ายพลเรือนจำนวน 400 คน จากการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของ Taro Yamane ณ ระดับความคลาดเคลื่อนที่ 0.05 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มตามความสะดวก การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ (1) วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนา เพื่อสรุปภาพรวมของกลุ่มตัวอย่าง และคุณลักษณะที่สำคัญของที่อยู่อาศัยที่ผู้สูงอายุต้องการ (2) วิเคราะห์อรรถประโยชน์ ที่เป็นตัวเงิน ด้วยแบบจำลองถดถอยโลจิสติกส์ แบบทางเลือกต่อเนื่องและแบบจำลองถดถอยโลจิสติกส์ ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 62 อายุเฉลี่ย 48 ปีเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญร้อยละ 71 มีรายได้เฉลี่ย 42,109 บาท ภาพรวมของที่อยู่อาศัยสูงอายุที่มีระบบดูแลต่อเนื่อง คุณลักษณะที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของกลุ่มผู้ซื้อในระดับราคาต่ำกว่า 4 ล้านบาทประกอบด้วย ขนาดห้องนอน ระยะทางจากโครงการถึงโรงพยาบาล ถนนสายหลัก และทางด่วน ในขณะที่คุณลักษณะที่ส่งผลต่อกลุ่มผู้ซื้อในระดับราคาสูงกว่า 4 ล้านบาทประกอบด้วย ขนาดพื้นที่หน่วยอาศัย อ่างอาบน้ำ จำนวนชั้น ห้องนอนสำหรับบุคคลภายนอก ระยะทางจากโครงการถึงห้าง สวนสาธารณะ สถานีรถไฟฟ้า การอนุญาติให้เลี้ยงสัตว์ สระว่ายน้ำ และนักกายภาพบำบัดภายในโครงการ (2) ราคาเงาซึ่งเป็นราคาที่ผู้บริโภคทุกกลุ่มมีความเต็มใจจ่ายโดยรวมคุณลักษณะของที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุที่มีระบบดูแลต่อเนื่องสำคัญที่ต้องการต่อที่อยู่อาศัยอยู่ที่ 6,700,415.80 บาท แต่ในกลุ่มตัวอย่างที่มีความต้องการอย่างแท้จริง (ระดับความต้องการซื้อระดับ 7 ขึ้นไปจาก 10 ระดับ) พบว่ามีความเต็มใจจ่ายอยู่ที่ 2,862,545 บาท และปัจจัยที่ส่งผลต่ออรรถประโยชน์ที่เป็นตัวเงินในการตัดสินใจได้แก่อ่างอาบน้ำ นักกายภาพบำบัด ระยะทางของโครงการถึงสถานีรถไฟฟ้า ระยะทางของโครงการถึงโรงพยาบาล และระยะทางของโครงการถึงถนนสายหลัก |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13735 |
Appears in Collections: | Econ-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2646000295.pdf | 4.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.