กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13748
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนารูปแบบบันทึกทางการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยระยะวิกฤติแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of a nursing documentation model for patients in crisis, an emergency department of Bhumipol Adulyadej Hospital |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุภมาส อังศุโชติ เพ็ญศรี เอี่ยมศรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ อารี ชีวเกษมสุข |
คำสำคัญ: | การสื่อสารทางการพยาบาล บันทึกการพยาบาล--โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน--วิทยานิพนธ์ |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาสภาพปัญหาการบันทึกทางการพยาบาลแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช 2)สร้างรูปแบบบันทึกทางการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยระยะวิกฤติและ 3)เปรียบเทียบคุณภาพของการบันทึกทางการพยาบาลและการรับรู้คุณค่าของรูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลก่อนและหลังการพัฒนา การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้กลุ่มตัวอย่างจากการคัดเลือกแบบเจาะจงได้แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะก่อนการพัฒนา มี 2 กลุ่ม ได้แก่ (1) พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จำนวน 30 คน (2) แบบบันทึกทางการพยาบาลผู้ป่วยระยะวิกฤติก่อนการพัฒนา จำนวน 34 ชุด 2) ระยะพัฒนา ได้แก่รองผู้อำนวยการพยาบาลฝ่ายวิชาการ 1 คน พยาบาลผู้ตรวจการ 1 คน พยาบาลวิชาชีพแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน 4 คน และแพทย์แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน 2 คน รวม 8 คน และ 3) ระยะทดลอง มี 2 กลุ่ม ได้แก่ (1) พยาบาลวิชาชีพกลุ่มเดียวกับระยะก่อนการพัฒนา และ(2) แบบบันทึกทางการพยาบาลผู้ป่วยระยะวิกฤติหลังการพัฒนารูปแบบการบันทึกทางการพยาบาล จำนวน 34 ชุด เครื่องมือที่ใช้การวิจัยมีดังนี้ 1) แนวทางการสนทนากลุ่มเพื่อศึกษาสภาพปัญหาการบันทึกทางการพยาบาลและการสร้างรูปแบบบันทึกทางการพยาบาลใหม่ 2) รูปแบบบันทึกทางการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยระยะวิกฤติที่พัฒนาขึ้น 3) แบบตรวจสอบคุณภาพของการบันทึกทางการพยาบาลและคู่มือการตรวจคุณภาพการของบันทึกทางการพยาบาล และ 4) แบบสอบถามการรับรู้คุณค่าการใช้รูปแบบบันทึกทางการพยาบาล โดยเครื่องมือวิจัย 3) และ 4) มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.98 และ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติทดสอบ แมนน์-วิทนีย์ยู และสถิติทดสอบ วิลคอกซันผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาการบันทึกทางการพยาบาลที่พบ ได้แก่ (1)วิธีการบันทึกไม่ครอบคลุมตามกระบวนการพยาบาล บันทึกไม่ถูกต้องตามหลักการบันทึก และไม่ต่อเนื่อง (2) แบบบันทึกมีหลายแบบฟอร์ม และ (3) ไม่มีคู่มือการใช้รูปแบบการบันทึกทางการพยาบาล 2) รูปแบบบันทึกทางการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย (1) แบบบันทึกเชิงโครงสร้างด้วยระบบ PIE (Problem Intervention Evaluation) ตามกระบวนการพยาบาลอย่างองค์รวม (2) คู่มือการใช้รูปแบบบันทึกทางการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น และ 3) ค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพของบันทึกทางการพยาบาลและการรับรู้คุณค่าของพยาบาลวิชาชีพต่อรูปแบบบันทึกทางการพยาบาลหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13748 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2605100276.pdf | 7.77 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น