Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13754
Title: การพัฒนารูปแบบการบริการสุขภาพแบบไร้รอยต่อสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน
Other Titles: Development of a Seamless Health Service Model for Breast Cancer Patients from Hospital to Community
Authors: เพ็ญจันทร์ แสนประสาน
รภัทภร เพชรสุข
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาการบริหารทางการพยาบาล
อารี ชีวเกษมสุข
Keywords: การพัฒนารูปแบบ การบริการสุขภาพแบบไร้รอยต่อ  โรงพยาบาลสู่ชุมชน โรคมะเร็งเต้านม
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาการบริหารทางการพยาบาล--วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ของรูปแบบการให้บริการสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง เต้านมของโรงพยาบาลมะเร็งแห่งหนึ่ง 2) พัฒนารูปแบบการบริการสุขภาพแบบไร้รอยต่อสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน และ 3) ประเมินความเหมาะสม ของรูปแบบการบริการสุขภาพแบบไร้รอยต่อที่พัฒนาขึ้น              การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ ผู้ให้ข้อมูลหลักได้จากการคัดเลือกแบบเจาะจง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม 1) ทีมสุขภาพ จำนวน 8  คน ได้แก่ แพทย์ 1 คน หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการพยาบาล 1 คน หัวหน้างานการพยาบาลผู้ป่วยในศัลยกรรม 1 คน หัวหน้างานผู้ป่วยนอกเคมีบำบัด 1 คน พยาบาลวิชาชีพ 3 คน และพยาบาลหน่วยประสานงานส่งต่อ 1 คน และ 2) ผู้ป่วยและผู้ดูแล จำนวน 6  คน ได้แก่ ผู้ป่วย 3 คน และผู้ดูแล จำนวน 3  คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชุด ประกอบด้วย 1) แนวคำถามการสนทนากลุ่ม และ 2) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการบริการสุขภาพแบบไร้รอยต่อสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน เครื่องมือชุดที่ 1 และชุดที่ 2 ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80 - 1.00 เครื่องมือชุดที่ 2 มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติเชิงพรรณนา             ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานการณ์ของรูปแบบการให้บริการสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมของโรงพยาบาล มี 3 ด้าน ดังนี้ (1) ด้านโครงสร้าง มีนโยบายตามแผนพัฒนาบริการสุขภาพและกระบวนการดูแลรักษาระดับตติยภูมิ มีเครื่องมือทันสมัยครบถ้วน สื่อสารและประสานงานด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยแต่ไม่เป็นแนวเดียวกันและไม่ต่อเนื่อง บุคลากรทีมสุขภาพและพยาบาลมีจำกัด และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลก็มีภาระงานมาก (2) ด้านกระบวนการ ได้แก่ มีขั้นตอนการดูแลผู้ป่วยขณะพักรักษาตัวในโรงพยาบาลและหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล แต่ยังขาดแนวทางการดูแลอย่างไร้รอยต่อระหว่างโรงพยาบาลกับเครือข่าย การติดตามผู้ป่วยหลังจำหน่ายยังไม่ครอบคลุม และ (3) ด้านผลลัพธ์ ได้แก่ มีความพึงพอใจต่อการรักษาแต่ไม่ครอบคลุมหลังจำหน่าย 2) รูปแบบการบริการสุขภาพแบบ      ไร้รอยต่อที่พัฒนาขึ้น มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านโครงสร้างและด้านกระบวนการ มีการพัฒนาบนพื้นฐานศึกษาสถานกรณ์ร่วมกับการบูรณาการแนวคิด 2 ประการ ได้แก่ การบริการสุขภาพแบบไร้รอยต่อ และการประเมินคุณภาพการดูแลของโดนาบีเดียนซึ่งเน้นการบริการสุขภาพแบบไร้รอยต่อเพื่อดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องแบบองค์รวมและปลอดภัยตั้งแต่แรกรับจนกระทั่งจำหน่ายกลับไปพักฟื้นที่บ้าน โดยมีการประสานงานส่งต่อและการสื่อสารด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัล ส่วนด้านผลลัพธ์ มีการประเมินระยะเวลาบริการและความพึงพอใจจนถึงหลังจำหน่าย และ 3) รูปแบบการบริการสุขภาพแบบไร้รอยต่อที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมร้อยละ 91.90
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13754
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2625100025.pdf2.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.