กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13754
ชื่อเรื่อง: | The Development of a Seamless Health Service Model for Breast Cancer Patients from Hospital to Community การพัฒนารูปแบบการบริการสุขภาพแบบไร้รอยต่อสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | RAPHATPHORN PETCHSUK รภัทภร เพชรสุข Aree Cheevakasemsook อารี ชีวเกษมสุข Sukhothai Thammathirat Open University Aree Cheevakasemsook อารี ชีวเกษมสุข [email protected] [email protected] |
คำสำคัญ: | การพัฒนารูปแบบ การบริการสุขภาพแบบไร้รอยต่อ โรงพยาบาลสู่ชุมชน โรคมะเร็งเต้านม Model development Seamless health service model Hospital to community Breast cancer |
วันที่เผยแพร่: | 26 |
สำนักพิมพ์: | Sukhothai Thammathirat Open University |
บทคัดย่อ: | The objectives of this research aimed: 1) to analyze the situation of the health service model of a cancer hospital, 2) to develop a seamless health service model for breast cancer patients from hospital to community, and 3) to evaluate the appropriateness of the developed seamless health service model.For this qualitative research, the key informants were purposively selected and divided into two groups: 1) the healthcare team, consisting of 8 members, included 1 physician, 1 head of the nursing academic department, 1 head of the inpatient surgical nursing department, 1 head of the outpatient chemotherapy department, 3 professional nurses, and 1 nurse from the referral coordination unit; and 2) patients and caregivers, comprising 6 individuals: 3 patients and 3 caregivers. The research instruments included two sets: 1) a question guideline for focus group discussions, and 2) an assessment form for evaluating the appropriateness of the seamless healthcare service model for breast cancer patients from hospital to community. Both instruments were validated for content accuracy by five experts, with a content validity index ranging between 0.80 and 1.00. The second tool demonstrated a reliability coefficient of 0.98. Data were analyzed using content analysis and descriptive statistics.The research findings revealed as follows. 1) The current situation of the healthcare service model for breast cancer patients in a cancer hospital could be categorized into three aspects. (1) Structural aspects: there were policies aligned with the healthcare service development plan and tertiary care processes with modern and comprehensive equipment. Communication and coordination were facilitated by advanced technologies but they lacked consistency and continuity. Health personnel, including nurses, were limited, and staff at sub-district health promotion hospitals were also overburdened with a heavy workload. (2) Process aspects: There were procedures for patient care during hospitalization and after discharge, but there was a lack of a seamless care approach between the hospital and its network. Post-discharge patient follow-up was not comprehensive. (3) Outcome aspects: There was satisfaction with the treatment, but it did not fully cover the post-discharge period. 2) The developed seamless healthcare service model consisted of three components. Structure and process aspects were developed based on situation exploration and the integration of two key concepts of seamless healthcare services and Donabedian’s quality of care evaluation. The model emphasized a seamless approach to ensure comprehensive and safe patient care from admission through discharge to recovery at home, with efficient referral coordination and communication by digital technology. In terms of the outcome, it was evaluated throughout the service duration, including patient satisfaction up to the post-discharge period. Finally, 3) the developed seamless healthcare service model demonstrated an appropriateness rate of 91.90%. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ของรูปแบบการให้บริการสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง เต้านมของโรงพยาบาลมะเร็งแห่งหนึ่ง 2) พัฒนารูปแบบการบริการสุขภาพแบบไร้รอยต่อสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน และ 3) ประเมินความเหมาะสม ของรูปแบบการบริการสุขภาพแบบไร้รอยต่อที่พัฒนาขึ้น การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ ผู้ให้ข้อมูลหลักได้จากการคัดเลือกแบบเจาะจง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม 1) ทีมสุขภาพ จำนวน 8 คน ได้แก่ แพทย์ 1 คน หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการพยาบาล 1 คน หัวหน้างานการพยาบาลผู้ป่วยในศัลยกรรม 1 คน หัวหน้างานผู้ป่วยนอกเคมีบำบัด 1 คน พยาบาลวิชาชีพ 3 คน และพยาบาลหน่วยประสานงานส่งต่อ 1 คน และ 2) ผู้ป่วยและผู้ดูแล จำนวน 6 คน ได้แก่ ผู้ป่วย 3 คน และผู้ดูแล จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชุด ประกอบด้วย 1) แนวคำถามการสนทนากลุ่ม และ 2) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการบริการสุขภาพแบบไร้รอยต่อสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน เครื่องมือชุดที่ 1 และชุดที่ 2 ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80 - 1.00 เครื่องมือชุดที่ 2 มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานการณ์ของรูปแบบการให้บริการสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมของโรงพยาบาล มี 3 ด้าน ดังนี้ (1) ด้านโครงสร้าง มีนโยบายตามแผนพัฒนาบริการสุขภาพและกระบวนการดูแลรักษาระดับตติยภูมิ มีเครื่องมือทันสมัยครบถ้วน สื่อสารและประสานงานด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยแต่ไม่เป็นแนวเดียวกันและไม่ต่อเนื่อง บุคลากรทีมสุขภาพและพยาบาลมีจำกัด และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลก็มีภาระงานมาก (2) ด้านกระบวนการ ได้แก่ มีขั้นตอนการดูแลผู้ป่วยขณะพักรักษาตัวในโรงพยาบาลและหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล แต่ยังขาดแนวทางการดูแลอย่างไร้รอยต่อระหว่างโรงพยาบาลกับเครือข่าย การติดตามผู้ป่วยหลังจำหน่ายยังไม่ครอบคลุม และ (3) ด้านผลลัพธ์ ได้แก่ มีความพึงพอใจต่อการรักษาแต่ไม่ครอบคลุมหลังจำหน่าย 2) รูปแบบการบริการสุขภาพแบบ ไร้รอยต่อที่พัฒนาขึ้น มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านโครงสร้างและด้านกระบวนการ มีการพัฒนาบนพื้นฐานศึกษาสถานกรณ์ร่วมกับการบูรณาการแนวคิด 2 ประการ ได้แก่ การบริการสุขภาพแบบไร้รอยต่อ และการประเมินคุณภาพการดูแลของโดนาบีเดียนซึ่งเน้นการบริการสุขภาพแบบไร้รอยต่อเพื่อดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องแบบองค์รวมและปลอดภัยตั้งแต่แรกรับจนกระทั่งจำหน่ายกลับไปพักฟื้นที่บ้าน โดยมีการประสานงานส่งต่อและการสื่อสารด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัล ส่วนด้านผลลัพธ์ มีการประเมินระยะเวลาบริการและความพึงพอใจจนถึงหลังจำหน่าย และ 3) รูปแบบการบริการสุขภาพแบบไร้รอยต่อที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมร้อยละ 91.90 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13754 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2625100025.pdf | 2.57 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น