Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13755
Title: | การพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องหลังการระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดทางระบบประสาท |
Other Titles: | Development of a Post Anesthetic Continuous Care Model in Post-Operative Neurosurgery Patients |
Authors: | สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล กาญจนา ต่ายนิล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาการบริหารทางการพยาบาล กาญจนา ศรีสวัสดิ์ |
Keywords: | การดูแลต่อเนื่อง ผู้ป่วยหลังการระงับความรู้สึก การผ่าตัดทางระบบประสาท การส่งต่อ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาการบริหารทางการพยาบาล--วิทยานิพนธ์ |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยหลังการระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดทางระบบประสาท การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์การดูแลผู้ป่วยหลังการระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดทางระบบประสาท โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกทีมสหวิชาชีพ จำนวน 6 คน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยหลังการระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดทางระบบประสาท โดยการสนทนากลุ่มสหวิชาชีพ จำนวน 9 คน และระยะที่ 3 ประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการดูแลต่อเนื่องหลังการระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดทางระบบประสาทโดยพยาบาลวิชาชีพ 15 คน หลังทดลองใช้รูปแบบกับผู้ป่วย 451 ราย และประเมินความเมินความเหมาะสมของรูปแบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวคำถามหลักในการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และแบบประเมินคุณภาพแนวปฏิบัติ (AGREE II) เพื่อประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัย ระยะที่ 1 พบว่า การดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยหลังการระงับความรู้สึกหลังการผ่าตัดทางระบบประสาทมีปัจจัยสำคัญ 4 ประการ คือ 1) ประสบการณ์ของบุคลากรในทีมสหวิชาชีพ 2) การเตรียมความพร้อมของพยาบาลวิสัญญีก่อนการส่งต่อผู้ป่วย 3) การกำกับ ติดตาม เพื่อให้สามารถส่งต่อข้อมูลในการดูแลผู้ป่วยระหว่างทีมผู้ดูแลครบถ้วน และถูกต้อง และ 4) การสื่อสารระหว่างพยาบาลวิสัญญีผู้ส่งผู้ป่วยและพยาบาลวิชาชีพผู้รับผู้ป่วย ระยะที่ 2 รูปแบบการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยหลังการระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดทางระบบประสาท ประกอบด้วย การเตรียมความพร้อมของพยาบาลวิสัญญี และพยาบาลวิชาชีพในทีมการดูแล ทั้ง 3 ระยะ คือ ระยะก่อนเคลื่อนย้าย ระยะระหว่างเคลื่อนย้าย ระยะยุติการเคลื่อนย้าย และระยะที่ 3 ประเมินผลลัพธ์ของรูปแบบหลังจากนำไปใช้กับผู้ป่วย 451 ราย พบว่า ไม่พบอุบัติการณ์ไม่พึงประสงค์ และการประเมินโดยพยาบาลผู้ใช้รูปแบบ พบว่า รูปแบบมีความเหมาะสมต่อการนำไปใช้อยู่ในระดับดี การพยาบาลตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการดูแลและความปลอดภัยแก่ผู้ป่วยผ่าตัดทางระบบประสาท |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารทางการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13755 |
Appears in Collections: | Nurse-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2625100298.pdf | 7.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.