Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13756
Title: การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีหัวใจห้องบนพลิ้วไหวในชุมชน จังหวัดเลย
Other Titles: Development of a Clinical Nursing Practice Guideline for Care of Hypertension Patients with Atrial Fibrillation  in the Community, Loei Province
Authors: สุทธีพร มูลศาสตร์
จรรยา จันทะบับภาศรี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาการบริหารทางการพยาบาล
นพวรรณ เปียซือ
Keywords: โรคความดันโลหิตสูง ภาวะหัวใจห้องบนพลิ้วไหว แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก พฤติกรรมการดูแลตนเอง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน--วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2566
Publisher: สาขาวิชาการบริหารทางการพยาบาล
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีหัวใจห้องบนพลิ้วไหว 2) เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีหัวใจห้องบนพลิ้วไหวในชุมชน และ 3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีหัวใจห้องบนพลิ้วไหวในชุมชน รูปแบบการวิจัยและพัฒนามีขั้นตอนการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกตามแนวคิดของซูคัพ กลุ่มตัวอย่างแบ่งตาม 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การกระตุ้นเพื่อค้นหาปัญหาและแนวปฏิบัติทางคลินิก กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ป่วยและพยาบาลวิชาชีพ จำนวนกลุ่มละ 12 คน 2) การสนับสนุนและค้นหาหลักฐานเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างคือตำราและงานวิจัย จำนวน 11 เรื่อง พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 12 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน 3) การนำแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกไปทดลองใช้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยและพยาบาลวิชาชีพ จำนวนกลุ่มละ 15 คน และ 4) การนำแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกไปใช้ในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างถูกเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย 1) แนวคำถามการสนทนากลุ่มเพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการของผู้ป่วย 2) แนวทางการระดมสมองเพื่อสร้างแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก 3) แบบประเมินคุณภาพของแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกอะกรีทู 4) แบบสอบถามความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วย และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับพยาบาลวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยด้วยสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และสถิติทดสอบวิลล์คอกซัน ไซน์ แรงค์ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาและความต้องการของผู้ป่วย ได้แก่ ใจสั่น หายใจหอบเหนื่อย เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย มีภาวะเลือดออกง่าย ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลตนเองไม่ถูกต้อง ความกลัวในการสื่อสารกับเจ้าหน้าที่และการเข้าสังคม ผู้ป่วยจึงต้องการการดูแลตามปัญหาเหล่านี้ 2) แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกประกอบด้วย ขั้นตอนและคำจำกัดความในการดูแล ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล วัตถุประสงค์ กิจกรรมและการประเมินผลพยาบาล ซึ่งการประเมินคุณภาพของแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกตามวิธีของอะกรี ทู ในภาพรวมได้ร้อยละ 92.86 และรายหมวดได้ร้อยละ 90.00-97.78 และ 3) หลังทดลองใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก พบว่าผู้ป่วยมีความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 แต่ผลลัพธ์ทางคลินิกไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ส่วนพยาบาลวิชาชีพที่ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13756
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2635100080.pdf13.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.