Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13770
Title: | Factors Affecting Household Waste Reduction Behavior in Ban Suan Subdistrict Municipality Mueang Sukhothai District Sukhothai Province ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการลดปริมาณขยะมูลฝอยในครัวเรือน เขตเทศบาลตำบลบ้านสวน อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย |
Authors: | NANTAPORN RUENGSAWAT นันทพร เรืองสวัสดิ์ Akaphol Kaladee เอกพล กาละดี Sukhothai Thammathirat Open University Akaphol Kaladee เอกพล กาละดี [email protected] [email protected] |
Keywords: | พฤติกรรม การลดปริมาณขยะมูลฝอย ปัจจัยที่มีอิทธิพล Behavior Waste reduction Influencing factors |
Issue Date: | 25 |
Publisher: | Sukhothai Thammathirat Open University |
Abstract: | This study aimed to investigate 1) personal factors, leading factors, supporting factors, reinforcing factors, and behaviors related to reducing the quantity of household waste, and 2) factors affecting the behavior of reducing household waste in the Ban Suan Subdistrict Municipality of Sukhothai’s Mueang district.The cross-sectional study was conducted with a sample of 138 household representatives aged 18 and above residing in households located in the Ban Suan Subdistrict Municipality, selected from a total of 1,720 households in the area, using a stratified random sampling technique based on the average population formula. Data were collected through a validated questionnaire after content validation by three experts. The reliability analysis yielded a Cronbach's alpha coefficient of 0.74. The data were then analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, and multiple linear regression analysis.The findings revealed that: 1) Of all respondents, 66.67% aged 54.14 years (SD = 12.87) on average. The majority were engaged in private business (33.33%). Regarding leading factors, knowledge about reducing household waste was high(= 9.67, SD = 0.84), and attitudes toward waste reduction were positive (= 4.48, SD = 0.46). Perception of benefits and impacts of waste reduction was high (= 4.99, SD = 0.09), and factors supporting waste reduction were at a high level (= 8.91, SD = 0.92). Reinforcing factors for waste reduction were at a moderate level (= 3.66, SD = 0.67), and the behavior of reducing organic waste in households was at a high level (= 3.83, SD=0.47). 2) After controlling for the confounding variables, statistically significant factors affecting the behavior of reducing organic waste in households at the 0.05 level were education level, knowledge about waste reduction, attitudes toward waste reduction, and factors supporting waste reduction. The regression equation could predict the behavior of reducing household waste by 51.60% การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และพฤติกรรมการลดปริมาณขยะมูลฝอยในครัวเรือน และ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการลดปริมาณขยะมูลฝอยในครัวเรือน เขตเทศบาลตำบลบ้านสวน อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย การศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวางนี้ศึกษาจากตัวแทนครัวเรือนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยในพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านสวน อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย จำนวน 138 คน จากทั้งหมด 1,720 ครัวเรือน จากการกำหนดขนาดตัวอย่างด้วยสูตรประมาณค่าเฉลี่ยประชากร และสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ตรวจสอบค่าความเชื่อมั่นด้วยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคจากแบบสอบถามทั้งฉบับ มีค่าเท่ากับ 0.74 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุ ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 66.67 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 54.14 ปี (S.D.=12.87) ประกอบอาชีพค้าขายธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 33.33 ด้านปัจจัยนำมีความรู้เรื่องการลดปริมาณขยะมูลฝอยอยู่ในระดับสูง (= 9.67, S.D.= 0.84) ทัศนคติต่อการลดปริมาณขยะมูลฝอยอยู่ในระดับดี (=4.48, S.D.=0.46) การรับรู้ถึงประโยชน์และผลกระทบการลดปริมาณขยะมูลฝอยอยู่ในระดับสูง (= 4.99, S.D.=0.09) ปัจจัยอื้อต่อการลดปริมาณขยะมูลฝอยในครัวเรือนอยู่ในระดับสูง (= 8.91, S.D. =0.92) ปัจจัยเสริมต่อการลดปริมาณขยะมูลฝอยในครัวเรือนอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.66, S.D.=0.67) และพฤติกรรมการลดปริมาณขยะมูลฝอยในครัวเรือนอยู่ในระดับสูง (=3.83, S.D.=0.47) และ 2) เมื่อควบคุมอิทธิพลของตัวแปรอื่น ๆ แล้วพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการลดปริมาณขยะมูลฝอย ในครัวเรือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ระดับการศึกษา ความรู้เรื่องการลดปริมาณขยะมูลฝอยในครัวเรือน ทัศนคติต่อการลดปริมาณขยะมูลฝอยในครัวเรือนและปัจจัยสริมการลดปริมาณขยะมูลฝอย ในครัวเรือน สมการดังกล่าวสามารถทำนายพฤติกรรมการลดปริมาณขยะมูลฝอยในครัวเรือนได้ร้อยละ 51.60 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13770 |
Appears in Collections: | Health-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2625000084.pdf | 2.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.