Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13774
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อนัญญา ประดิษฐปรีชา | th_TH |
dc.contributor.author | ดำรัสศิริ โลหะกาลก | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2025-01-27T00:56:47Z | - |
dc.date.available | 2025-01-27T00:56:47Z | - |
dc.date.issued | 2566 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13774 | en_US |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ส.ม. (บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านแรงจูงใจ ความผูกพันต่อองค์กร คุณภาพชีวิตในการทำงาน (2) ระดับความตั้งใจลาออก และ (3) ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจลาออกของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเอกชนในเขตภาคเหนือตอนล่างการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง ประชากรที่ศึกษา คือ พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเอกชนในเขตภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 1,560 คน คำนวณขนาดตัวอย่างเพื่อประมาณค่าเฉลี่ยของประชากรและสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 369 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบ ความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์ของแอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.77 และ 0.76 ตามลำดับ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 – เดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 ได้รับการตอบกลับแบบสอบถามคืนมา จำนวน 359 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 97.3 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอนผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 90.3 มีอายุเฉลี่ย 38.35 ปี (SD = 10.48) สถานภาพสมรสร้อยละ 55.4 การศึกษาระดับปริญญาตรีร้อยละ 88.0 ตำแหน่งงานระดับปฏิบัติการ ร้อยละ 90.5 การปฏิบัติงานเฉลี่ย 16.15 ปี (SD = 8.32) มีจำนวนสมาชิกในครอบครัวที่ต้องอุปการะดูแลเฉลี่ย 5.50 คน (SD = 3.21) มีภูมิลำเนาอยู่ในอำเภอเดียวกันกับที่ทำงาน ร้อยละ 42.3 และมีรายได้พอใช้แต่ไม่มีเงินเก็บ ร้อยละ 44.6 ปัจจัยด้านแรงจูงใจมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (x= 2.94, SD = 0.18) ความผูกพันต่อองค์กรมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (x= 2.41, SD = 0.22) และคุณภาพชีวิตในการทำงานมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (x 2.61, SD = 0.26) (2) กลุ่มตัวอย่างมีความตั้งใจลาออกจากงานมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x= 3.68, SD = 0.37) และ (3) ตัวแปรพยากรณ์ร่วมทำนายความตั้งใจลาออกจากงานของพยาบาลวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ เพศ สถานภาพสมรส แรงจูงใจในการทำงานด้านลักษณะงานและด้านความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นและเพื่อนร่วมวิชาชีพ คุณภาพชีวิตในการทำงานด้านสภาพการปฏิบัติงานมีความปลอดภัยส่งเสริมสุขภาพและด้านความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน โดยร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 29.3 (R2 = 0.293) ดังนั้น ผู้บริหารโรงพยาบาลควรใช้ข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางส่งเสริมการธำรงรักษาบุคลากรที่มีคุณภาพ เพื่อให้ระบบบริการสุขภาพมีความมั่นคงในระยะยาว | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | พยาบาล--การลาออก | th_TH |
dc.subject | พยาบาล--ไทย (ภาคเหนือ)--ความพอใจในการทำงาน | th_TH |
dc.subject | โรงพยาบาลเอกชน--ไทย (ภาคเหนือ) | th_TH |
dc.title | ปัจจัยด้านแรงจูงใจ ความผูกพันต่อองค์กร และคุณภาพชีวิตในการทำงาน ที่มีผลต่อความตั้งใจลาออกของพยาบาลโรงพยาบาลเอกชน ในเขตภาคเหนือตอนล่าง | th_TH |
dc.title.alternative | Motivation factors, organizational commitment and qquality of work life on turnover intention of registered nurses at Private Hospitals in Thailand’s Lower Northern Region | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This study aimed to explore (1) personal factors, motivation factors, organizational commitment, and quality of work life of nurses, (2) the level of turnover intention of nurses, and (3) factors affecting the turnover intention of nurses at private hospitals in the Lower Northern Region of Thailand.This cross-sectional survey involved a sample of 369 registered nurses selected using stratified sampling from a population 1,560 RNs at private hospitals in the Lower Northern Region of the country. The sample size was calculated from a formula for estimating population means. Data collection was undertaken from August to October 2023, utilizing a questionnaire whose Cronbach’s alpha coefficients for content validity and reliability were 0.77 and 0.76, respectively. The completed questionnaire was returned from 359 respondents, a response rate of 97.3%. The data were analyzed and presented using frequency, percentage, mean, standard deviation (SD), and multiple linear regression analysis, employing the stepwise method.The results showed that, among all RNs/respondents: (1) most of them were females (90.3%) with a mean age of 38.35 years (SD = 10.48), 55.4% were married, 88.0% had a bachelor’s degree, 90.5% worked in operational positions, had mean tenure of 16.15 years (SD = 8.32), and had a mean number of dependent family members of 5.50 persons (SD = 3.21); 42.3% resided in the same district where they worked, and 44.6% had sufficient income but no savings; the levels of the following factors were moderate for motivation (mean = 2.94, SD = 0.18), organizational commitment (mean = 2.41, SD = 0.22) and quality of work life (mean = 2.61, SD = 0.26); and (2) high for turnover intention (mean = 3.68, SD = 0.37); and (3) all variables that could significantly predict their turnover intention were gender, marital status, working motivation, working conditions, inter-personal and professional relationships, work-life quality, safe working conditions, and work-life balance; all such factors combined had predictive value of 29.3% (R2 = 0.293). Thus, hospital administrators should use the data for developing a guide for promoting the retention of high-quality personnel within the organization to ensure the healthcare system’s long-term stability. | en_US |
dc.contributor.coadvisor | อารยา ประเสริฐชัย | th_TH |
Appears in Collections: | Health-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2635000157.pdf | 2.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.