Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13774
Title: | ปัจจัยด้านแรงจูงใจ ความผูกพันต่อองค์กร และคุณภาพชีวิตในการทำงาน ที่มีผลต่อความตั้งใจลาออกของพยาบาลโรงพยาบาลเอกชน ในเขตภาคเหนือตอนล่าง |
Other Titles: | Motivation factors, organizational commitment and qquality of work life on turnover intention of registered nurses at Private Hospitals in Thailand’s Lower Northern Region |
Authors: | อนัญญา ประดิษฐปรีชา ดำรัสศิริ โลหะกาลก มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา อารยา ประเสริฐชัย |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--วิทยานิพนธ์ พยาบาล--การลาออก พยาบาล--ไทย (ภาคเหนือ)--ความพอใจในการทำงาน โรงพยาบาลเอกชน--ไทย (ภาคเหนือ) |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านแรงจูงใจ ความผูกพันต่อองค์กร คุณภาพชีวิตในการทำงาน (2) ระดับความตั้งใจลาออก และ (3) ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจลาออกของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเอกชนในเขตภาคเหนือตอนล่างการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง ประชากรที่ศึกษา คือ พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเอกชนในเขตภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 1,560 คน คำนวณขนาดตัวอย่างเพื่อประมาณค่าเฉลี่ยของประชากรและสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 369 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบ ความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์ของแอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.77 และ 0.76 ตามลำดับ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 – เดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 ได้รับการตอบกลับแบบสอบถามคืนมา จำนวน 359 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 97.3 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอนผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 90.3 มีอายุเฉลี่ย 38.35 ปี (SD = 10.48) สถานภาพสมรสร้อยละ 55.4 การศึกษาระดับปริญญาตรีร้อยละ 88.0 ตำแหน่งงานระดับปฏิบัติการ ร้อยละ 90.5 การปฏิบัติงานเฉลี่ย 16.15 ปี (SD = 8.32) มีจำนวนสมาชิกในครอบครัวที่ต้องอุปการะดูแลเฉลี่ย 5.50 คน (SD = 3.21) มีภูมิลำเนาอยู่ในอำเภอเดียวกันกับที่ทำงาน ร้อยละ 42.3 และมีรายได้พอใช้แต่ไม่มีเงินเก็บ ร้อยละ 44.6 ปัจจัยด้านแรงจูงใจมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (x= 2.94, SD = 0.18) ความผูกพันต่อองค์กรมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (x= 2.41, SD = 0.22) และคุณภาพชีวิตในการทำงานมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (x 2.61, SD = 0.26) (2) กลุ่มตัวอย่างมีความตั้งใจลาออกจากงานมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x= 3.68, SD = 0.37) และ (3) ตัวแปรพยากรณ์ร่วมทำนายความตั้งใจลาออกจากงานของพยาบาลวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ เพศ สถานภาพสมรส แรงจูงใจในการทำงานด้านลักษณะงานและด้านความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นและเพื่อนร่วมวิชาชีพ คุณภาพชีวิตในการทำงานด้านสภาพการปฏิบัติงานมีความปลอดภัยส่งเสริมสุขภาพและด้านความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน โดยร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 29.3 (R2 = 0.293) ดังนั้น ผู้บริหารโรงพยาบาลควรใช้ข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางส่งเสริมการธำรงรักษาบุคลากรที่มีคุณภาพ เพื่อให้ระบบบริการสุขภาพมีความมั่นคงในระยะยาว |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม. (บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13774 |
Appears in Collections: | Health-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2635000157.pdf | 2.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.