Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13777
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอนัญญา ประดิษฐปรีชาth_TH
dc.contributor.authorมธุรส เพ็ชรดีth_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2025-01-27T00:56:50Z-
dc.date.available2025-01-27T00:56:50Z-
dc.date.issued2566-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13777en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ส.ม. (บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียม (2) ปริมาณโซเดียมจากอาหารที่บริโภค และ (3) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะโภชนาการ ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมต่อปริมาณโซเดียมจากอาหารที่บริโภคของประชาชนวัยทำงานจังหวัดพิษณุโลก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง ประชากรที่ศึกษาคือ ประชาชนวัยทำงานจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 523,243 คน คำนวณขนาดตัวอย่างด้วยการประมาณค่าเฉลี่ยของประชากรกรณีทราบจำนวนของประชากรและสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 250 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และการเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมง ตรวจสอบความเชื่อมั่นโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค มีค่าเท่ากับ 0.74 ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐานส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสถิติด้วยวิธีแมน-วิทนีย์ยู และการทดสอบครัสคาล-วอลลิส ผลการวิจัย พบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 47.2 มีทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมอยู่ในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 60.0 มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมอยู่ในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 56.4 (2) กลุ่มตัวอย่างมีค่ามัธยฐานปริมาณโซเดียมในปัสสาวะ 24 ชั่วโมง เท่ากับ 3,436.20 มิลลิกรัมต่อวัน และ (3) เมื่อเปรียบเทียบปริมาณโซเดียมจากอาหารที่บริโภคของประชาชนวัยทำงาน จำแนกข้อมูลได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ การศึกษา อาชีพ รายได้ โรคประจำตัว การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ค่าดัชนีมวลกาย เส้นรอบ เอว ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียม พบว่า ระดับการศึกษา อาชีพ และค่าดัชนีมวลกาย มีปริมาณโซเดียมจากอาหารที่บริโภคแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูงให้กับประชาชน โดยบูรณาการงานร่วมกับองค์กรภาครัฐและเอกชน เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูง ลดการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในอนาคตของประชาชนต่อไปth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectอาหาร--ปริมาณโซเดียมth_TH
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณโซเดียมจากอาหารที่บริโภคของประชาชนวัยทำงาน จังหวัดพิษณุโลกth_TH
dc.title.alternativeFactors affecting the amount of sodium from food consumption among working- age population, Phitsanulok Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis study aimed to investigate (1) knowledge, attitudes, and behaviors toward consuming sodium-containing food, (2) the amount of sodium from food consumption, and (3) compare personal factors, nutritional status, knowledge, attitudes, and behaviors on dietary sodium intake with the amounts of dietary sodium intake among working-age population in Phitsanulok province. This cross-sectional survey was conducted in a sample of 250 individuals, selected using multistage sampling from 523,243 working-age people in Phitsanulok; the sample size was determined using estimating a finite population mean. Data were gathered by using a questionnaire and 24-hour urine sodium testing. The reliability test was conducted using Cronbach’s alpha coefficient of 0.74. The data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, Mann-Whitney U test and Kruskal-Wallis test. The results showed that (1) among all participants, their moderate knowledge, attitudes, and behaviors regarding dietary salt intake were 47.2%, 60.0%, and 56.4%, respectively; (2) their median 24-hour urinary sodium level was 3,436.20 mg/day, and (3) when comparing the amounts of sodium from food consumed with all their factors (gender, age, status, education, occupation, income, underlying diseases, smoking, drinking alcohol, body mass index, waist circumference, knowledge, attitudes, and behaviors on dietary sodium intake), the educational levels, occupations, and body mass index were significantly associated with dietary sodium intake (p-value < 0.05). Thus, relevant agencies should urgently create health literacy or knowledge about health and diseases caused by high-salt intake, by integrating work with other public and private sector organizations to change people’s behaviors toward low-sodium intake, thereby lowering the future incidence of non-communicable diseases.en_US
dc.contributor.coadvisorปกกมล เหล่ารักษาวงษ์th_TH
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2635000546.pdf4.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.