Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13777
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณโซเดียมจากอาหารที่บริโภคของประชาชนวัยทำงาน จังหวัดพิษณุโลก
Other Titles: Factors affecting the amount of sodium from food consumption among working- age population, Phitsanulok Province
Authors: อนัญญา ประดิษฐปรีชา
มธุรส เพ็ชรดี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ปกกมล เหล่ารักษาวงษ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--วิทยานิพนธ์
อาหาร--ปริมาณโซเดียม
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียม (2) ปริมาณโซเดียมจากอาหารที่บริโภค และ (3) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะโภชนาการ ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมต่อปริมาณโซเดียมจากอาหารที่บริโภคของประชาชนวัยทำงานจังหวัดพิษณุโลก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง ประชากรที่ศึกษาคือ ประชาชนวัยทำงานจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 523,243 คน คำนวณขนาดตัวอย่างด้วยการประมาณค่าเฉลี่ยของประชากรกรณีทราบจำนวนของประชากรและสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 250 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และการเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมง ตรวจสอบความเชื่อมั่นโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค มีค่าเท่ากับ 0.74 ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐานส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสถิติด้วยวิธีแมน-วิทนีย์ยู และการทดสอบครัสคาล-วอลลิส ผลการวิจัย พบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 47.2 มีทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมอยู่ในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 60.0 มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมอยู่ในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 56.4 (2) กลุ่มตัวอย่างมีค่ามัธยฐานปริมาณโซเดียมในปัสสาวะ 24 ชั่วโมง เท่ากับ 3,436.20 มิลลิกรัมต่อวัน และ (3) เมื่อเปรียบเทียบปริมาณโซเดียมจากอาหารที่บริโภคของประชาชนวัยทำงาน จำแนกข้อมูลได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ การศึกษา อาชีพ รายได้ โรคประจำตัว การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ค่าดัชนีมวลกาย เส้นรอบ เอว ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียม พบว่า ระดับการศึกษา อาชีพ และค่าดัชนีมวลกาย มีปริมาณโซเดียมจากอาหารที่บริโภคแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูงให้กับประชาชน โดยบูรณาการงานร่วมกับองค์กรภาครัฐและเอกชน เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูง ลดการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในอนาคตของประชาชนต่อไป
Description: วิทยานิพนธ์ (ส.ม. (บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13777
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2635000546.pdf4.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.