Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13781
Title: | การพัฒนาความรู้ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทอผ้าไหมจังหวัดร้อยเอ็ด |
Other Titles: | Comparison of knowledge before and after using the safety, occupational health and environment manual of silk weavers group in Roi Et Province |
Authors: | อภิรดี ศรีโอภาส สาวิตรี เหลืองมรรคา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี การทอผ้าไหม--แง่อนามัย การศึกษาอิสระ--การจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) จัดทำคู่มือความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ในการปฏิบัติงานของกลุ่ม ผู้ประกอบอาชีพทอผ้าไหมจังหวัดร้อยเอ็ด และ 2) เปรียบเทียบความรู้ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ในการปฏิบัติงานก่อนและหลังอบรมการใช้คู่มือการปฏิบัติงาน รูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยกึ่งทดลองโดยศึกษาหลักการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานจากเอกสารและงานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง แล้วนำข้อมูลมากำหนดโครงสร้าง เนื้อหา และเทคนิคการนำเสนอที่จำเป็นและเหมาะสมเพื่อนำไปพัฒนาคู่มือ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในการปฏิบัติงานของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทอผ้าไหมจังหวัดร้อยเอ็ดและจัดทำแบบทดสอบความรู้ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในการปฏิบัติงานก่อนและหลังการอบรมการใช้คู่มือ ตรวจคุณภาพด้านเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน แล้วนำแบบทดสอบความรู้ไปหาค่าความเชื่อมั่น จากนั้นจัดอบรมให้ กลุ่มตัวอย่างโดยนำคู่มือและแบบทดสอบไปเก็บข้อมูลในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ประกอบอาชีพทอผ้าไหมจังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งถูกคัดเลือกแบบเจาะจงและมีจำนวน 35 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบทีแบบจับคู่ ผลการศึกษาพบว่า 1) คู่มือความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม แบ่งเป็น 6 บท ได้แก่ บทที่ 1 บทนำ บทที่ 2 ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการปฏิบัติงาน บทที่ 3 มาตรการป้องกันและควบคุมอันตราย ต่อสุขภาพ บทที่ 4 มาตรการด้านการจัดเก็บสารเคมี บทที่ 5 มาตรการด้านการจัดการน้ำเสียหลังการใช้งาน และบทที่ 6 มาตรการการจัดการขยะอันตราย ผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญพบว่า ด้านเนื้อหา ภาษา และรูปภาพอยู่ในเกณฑ์ดีถึงดีมาก และ ผลการทดสอบค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบคือ 0.76 และ 2) ผลการวัดระดับความรู้ในการปฏิบัติงานพบว่า ค่าเฉลี่ยและ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนความรู้ก่อนอบรมคือ 10.0±0.4 คะแนนและคะแนนความรู้หลังอบรมคือ18.9 ±0.4 คะแนน ซึ่งคะแนนความรู้หลังอบรมสูงกว่าคะแนนความรู้ก่อนอบรมการใช้คู่มือ และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้ก่อนและหลังอบรม การใช้คู่มือพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นกลุ่มทอผ้าไหมสามารถนำคู่มือไปใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อควบคุมป้องกันอันตรายต่อสุขภาพและลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมได้ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13781 |
Appears in Collections: | Health-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2635001213.pdf | 3.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.