Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13787
Title: ปัจจัยส่งผลต่อระดับกิจกรรมการจำหน่ายผู้ป่วยด้านการจัดการทางการพยาบาล ตามแนวคิดลีน ของโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง เขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Factors affecting lean-based nursing discharge management levels at a tertiary hospital in Bangkok
Authors: มยุรินทร์ เหล่ารุจิสวัสดิ์
วิไลพร ภักด์มาลา อนันท์เดชา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--การศึกษาเฉพาะกรณี
โรงพยาบาล--การรับและการจำหน่ายผู้ป่วย
การศึกษาอิสระ--บริหารสาธารณสุข
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความรู้ในการจัดการ และระดับการบริหารของหน่วยงาน 2) ระดับกิจกรรมการจำหน่ายผู้ป่วยด้านการจัดการทางการพยาบาล และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลกับระดับกิจกรรมการจำหน่ายผู้ป่วยด้านการจัดการทางการพยาบาลตามแนวคิดลีนของโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง เขตกรุงเทพมหานครการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางมีประชากรที่ศึกษาคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานมากกว่า 6 เดือน ทั้งหมด 1,093 คน คำนวณจำนวนตัวอย่างด้วยวิธีของยามาเน่ได้เท่ากับ   293 คน สุ่มเก็บตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน จากนั้นทำการสุ่มเลือกตัวอย่างจากประชากรในแต่ละหอผู้ป่วยด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบสอบประเมินความรู้ในการจัดการทางการพยาบาลตามแนวคิดลีน ได้ค่าความตรงทั้งฉบับคือ 1.00 ได้ค่าความเที่ยง 0.72    2) แบบประเมินระดับการบริหารโรงพยาบาลโดยโครงสร้างตามแนวคิดของอองรี ฟาโยล ได้ค่าความตรง ทั้งฉบับคือ 0.90 ได้ค่าความเที่ยง 0.98 และ 3) แบบประเมินระดับกิจกรรมการจำหน่ายผู้ป่วยด้านการจัดการทางการพยาบาลตามแนวคิดลีน ได้ค่าความตรงทั้งหมดฉบับคือ 1.00 ได้ค่าความเที่ยง 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณเชิงเส้นด้วยวิธีการคัดเลือกตัวแปรตามแบบขั้นตอนผลวิจัยพบว่า 1) ความรู้ในการจัดการทางการพยาบาลตามแนวคิดลีนของพยาบาลวิชาชีพ  อยู่ในระดับปานกลาง (x̄= 2.09, S.D.= 0.82) ระดับการบริหารของหน่วยงานอยู่ในระดับมาก (x̄=3.97, S.D.= 0.61) 2) ระดับกิจกรรมการจำหน่ายผู้ป่วยด้านการจัดการทางการพยาบาลตามแนวคิดลีนอยู่ในระดับมาก (x̄=18.49, S.D.= 3.89) และ 3) ระดับการบริหารของหน่วยงานด้านการวางแผน (นโยบายและแผน) ด้านการควบคุม (การประเมินผล) ส่งผลเชิงบวก และด้านการประสานงาน (บรรยากาศในการทำงาน) ส่งผลเชิงลบต่อระดับกิจกรรมการจำหน่าย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 โดยมีค่าพยากรณ์เท่ากับร้อยละ 19.3 (R2= 0.193)
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13787
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2645000338.pdf2.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.