กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13791
ชื่อเรื่อง: | Factors Influencing Health Promotion Behaviors of Public Health Volunteers: A Case Study of the Southern Bangkok Area Group ปัจจัยที่มีอิทธิพลกับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุข: กรณีศึกษา กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | WICHUDA TAECHALUE วิชุดา เตชะลือ Sompoch Ratioran สมโภช รติโอฬาร Sukhothai Thammathirat Open University Sompoch Ratioran สมโภช รติโอฬาร [email protected] [email protected] |
คำสำคัญ: | พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ อาสาสมัครสาธารณสุขกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ ปัจจัยที่มีอิทธิพล health promotion behaviors; public health volunteers; South Bangkok area; influential factors |
วันที่เผยแพร่: | 26 |
สำนักพิมพ์: | Sukhothai Thammathirat Open University |
บทคัดย่อ: | The objectives of this study were to explore (1) health-promoting behaviors of public health volunteers, (2) predisposing factors including gender, age, education level, marital status, health status, attitudes about health promotion, and perception of self-efficacy towards health behaviors, (3) contributing factors including the duration of public health volunteering, attending monthly meetings with health officials, and receiving public health training, (4) reinforcing factors including perceived motivation in performing duties, and (5) factors influencing health promotion behaviors, all of public health volunteers in the Southern Bangkok area group.This cross-sectional survey study involved a sample of 371 volunteers selected using the randomized and stratified sampling from all 1,600 public health volunteers in southern Bangkok. The sample size was determined using Daniel's formula (2010). Data were collected using a questionnaire that had been verified by three experts and had a complete confidence value of 0.934. Data were then analyzed using descriptive statistics, frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson's correlation coefficient and multiple linear regression.The results showed that, among the respondents (public health volunteers in southern Bangkok): (1) their health promotion behaviors were at a high level; (2) most of them were married women aged 51–70 years, completed secondary education, had chronic illnesses, and had positive health promotion attitudes as well as a high level of perceived self-efficacy towards health behaviors; (3) their contributing factors mostly included 12 monthly meetings with health officials per year, and training in public health; (4) their reinforcing factors included a high level of perceived motivation to perform duties; and (5) predisposing, contributing and reinforcing factors were positively associated with their health behaviors; such factors were health promotion attitudes, perceived self-efficacy towards health behaviors, training in public health, monthly meetings with health officials and perceived motivation in performing duties (r = 0.318, 0.452, 0.207, 0.123, and 0.408, respectively); and based on further analysis, all such factors combined could 28.2% predict their health promotion behaviors (R2 = 0.282, p การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ 2) ปัจจัยนำ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส ภาวะสุขภาพ ทัศนคติเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ และ การรับรู้ความสามารถแห่งตนต่อพฤติกรรมสุขภาพ 3) ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ ระยะเวลาการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุข การเข้าร่วมประชุมประจำเดือนกับเจ้าหน้าที่ การได้รับการอบรมด้านสาธารณสุข 4) ปัจจัยเสริม ได้แก่ การรับรู้แรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ และ 5) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขกลุ่มเขตกรุงเทพใต้การศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้มีประชากรที่ศึกษา คือ อาสาสมัครสาธารณสุขกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ จำนวน 1,600 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของแดเนียล (2010) จำนวน 371 ราย สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นและ แบบง่าย เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจความตรงจากผู้เชียวชาญ 3 คนและมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.934 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณผลการศึกษาพบว่า 1) พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยนำส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 51 ถึง 70 ปี ระดับการศึกษามัธยมศึกษา สถานภาพสมรสคือคู่อยู่ร่วมกัน ภาวะสุขภาพมีโรคประจำตัว ทัศนคติเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพอยู่ในด้านบวก และมีการรับรู้ความสามารถแห่งตนต่อพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยเอื้อ ส่วนใหญ่มีระยะเวลาการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุข น้อยกว่า 13 ปี เข้าร่วมประชุมประจำเดือนกับเจ้าหน้าที่ มากกว่า 12 ครั้งต่อปีและได้รับการอบรมด้านสาธารณสุข 4) ปัจจัยเสริม มีการรับรู้แรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่อยู่ในระดับมาก และ 5) ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ ได้แก่ ทัศนคติเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ การรับรู้ความสามารถแห่งตนต่อพฤติกรรมสุขภาพ การอบรมด้านสาธารณสุข การเข้าร่วมประชุมประจำเดือนกับเจ้าหน้าที่ และการรับรู้แรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ ( r= 0.318, 0.452, 0.207, 0.123, และ 0.408 ตามลำดับ) เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ พบว่า การรับรู้ความสามารถแห่งตนต่อพฤติกรรมสุขภาพ การรับรู้แรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ และการเข้าร่วมประชุมประจำเดือนกับเจ้าหน้าที่สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ได้ร้อยละ 28.2 (R2 = 0.282, p |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13791 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2645000429.pdf | 4.04 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น