Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13791
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลกับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุข: กรณีศึกษา กลุ่มเขตกรุงเทพใต้
Other Titles: Factors influencing health promotion behaviors of public health volunteers: a case study of the Southern Bangkok Area Group
Authors: สมโภช รติโอฬาร
วิชุดา เตชะลือ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--การศึกษาเฉพาะกรณี
การส่งเสริมสุขภาพ--ไทย--กรุงเทพฯ
การศึกษาอิสระ--บริหารสาธารณสุข
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ 2) ปัจจัยนำ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส ภาวะสุขภาพ ทัศนคติเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ และ การรับรู้ความสามารถแห่งตนต่อพฤติกรรมสุขภาพ 3) ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ ระยะเวลาการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุข การเข้าร่วมประชุมประจำเดือนกับเจ้าหน้าที่ การได้รับการอบรมด้านสาธารณสุข 4) ปัจจัยเสริม ได้แก่ การรับรู้แรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ และ 5) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขกลุ่มเขตกรุงเทพใต้การศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้มีประชากรที่ศึกษา คือ อาสาสมัครสาธารณสุขกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ จำนวน 1,600 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของแดเนียล (2010) จำนวน 371 ราย สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นและ แบบง่าย เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจความตรงจากผู้เชียวชาญ 3 คนและมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.934 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณผลการศึกษาพบว่า 1) พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยนำส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 51 ถึง 70 ปี ระดับการศึกษามัธยมศึกษา สถานภาพสมรสคือคู่อยู่ร่วมกัน ภาวะสุขภาพมีโรคประจำตัว ทัศนคติเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพอยู่ในด้านบวก และมีการรับรู้ความสามารถแห่งตนต่อพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยเอื้อ ส่วนใหญ่มีระยะเวลาการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุข น้อยกว่า 13 ปี เข้าร่วมประชุมประจำเดือนกับเจ้าหน้าที่ มากกว่า 12 ครั้งต่อปีและได้รับการอบรมด้านสาธารณสุข 4) ปัจจัยเสริม มีการรับรู้แรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่อยู่ในระดับมาก และ 5) ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ ได้แก่ ทัศนคติเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ การรับรู้ความสามารถแห่งตนต่อพฤติกรรมสุขภาพ การอบรมด้านสาธารณสุข การเข้าร่วมประชุมประจำเดือนกับเจ้าหน้าที่ และการรับรู้แรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ ( r= 0.318, 0.452, 0.207, 0.123, และ 0.408 ตามลำดับ) เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ พบว่า การรับรู้ความสามารถแห่งตนต่อพฤติกรรมสุขภาพ การรับรู้แรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ และการเข้าร่วมประชุมประจำเดือนกับเจ้าหน้าที่สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ได้ร้อยละ 28.2 (R2 = 0.282, p
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13791
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2645000429.pdf4.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.