Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13793
Title: | ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของทันตาภิบาล ในคลินิกทันตกรรมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตบริการสุขภาพที่ 12 |
Other Titles: | Factors affecting the performance of dental nurses in Dental Clinic at Sub-district Health Promoting Hospitals in Health Region 12 |
Authors: | มยุรินทร์ เหล่ารุจิสวัสดิ์ ฟารีด้า เขียดนุ้ย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--การศึกษาเฉพาะกรณี ทันตาภิบาล การศึกษาอิสระ--บริหารสาธารณสุข Born digital |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับปัจจัยแรงจูงใจ ประกอบด้วย ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุน ที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของทันตาภิบาล (2) ระดับการปฏิบัติงานของทันตาภิบาล ตามแนวทางการควบคุมการติดเชื้อในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นโรคประจำถิ่น และ (3) ปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยแรงจูงใจ ที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของทันตาภิบาล ในคลินิกทันตกรรม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตบริการสุขภาพที่ 12 การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้ มีประชากรที่ศึกษา คือ ทันตาภิบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตบริการสุขภาพที่ 12 สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 330 คน คำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยโปรแกรม G* Power ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 240 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม 2 ชุด ตอบผ่านระบบแบบสอบถามออนไลน์ จากการตรวจสอบเครื่องมือ มีค่าดัชนีความสอดคล้องเฉลี่ยเท่ากับ 0.99 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเฉลี่ย เท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติการถดถอยโลจิสติก ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับปัจจัยแรงจูงใจ ทั้งปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก แต่มีด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ของปัจจัยจูงใจ ด้านเงินเดือน ค่าตอบแทน และด้านสภาพการปฏิบัติงาน ของปัจจัยค้ำจุน อยู่ในระดับปานกลาง (2) ระดับการปฏิบัติงานของทันตาภิบาล ในคลินิกทันตกรรม ตามแนวทางการควบคุมการติดเชื้อในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นโรคประจำถิ่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ(3) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ และจังหวัดที่ปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของทันตาภิบาลในคลินิกทันตกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยแรงจูงใจ พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของทันตาภิบาลในคลินิกทันตกรรม |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13793 |
Appears in Collections: | Health-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2645000460.pdf | 1.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.