กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13795
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการสร้างเสริมสุขภาพจิตในชุมชน จังหวัดตราด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting the performance of Village Health Volunteers in Mental HealthPromotion in Trat Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มยุรินทร์ เหล่ารุจิสวัสดิ์
วิรงรอง อุทัยสอน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--การศึกษาเฉพาะกรณี
บริการสุขภาพจิตชุมชน--ไทย--ตราด
อาสาสมัครสาธารณสุข--ไทย--ตราด
การศึกษาอิสระ--บริหารสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยแรงจูงใจและปัจจัยค้ำจุน (2) ระดับการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพจิตชุมชน และ (3) ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยแรงจูงใจและปัจจัยค้ำจุน ที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการสร้างเสริมสุขภาพจิตในชุมชน จังหวัดตราดการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง ทำการศึกษาในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดตราด จำนวน 236 คน จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าความตรงทั้งฉบับเท่ากับ 0.99 และมีค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุน และการปฏิบัติงานเท่ากับ 0.96 0.90 และ 0.92 ตามลำดับ วิเคราะห์โดยใช้สถิติ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณเชิงเส้น ด้วยวิธีการคัดเลือกตัวแปรแบบขั้นตอนผลการวิจัย พบว่า (1) อสม. ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 86.00 มีอายุเฉลี่ย 49.89 ปี สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 33.90 ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 46.20 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ระหว่าง 5,001 - 10,000 บาท ร้อยละ 50 ระยะเวลาการเป็น อสม. เฉลี่ย 10.64 ปี ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนอยู่ในระดับมาก (2) ผลการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพจิตชุมชนของ อสม. จังหวัดตราด อยู่ในระดับปานกลาง และ (3) ปัจจัยจูงใจด้านการยอมรับนับถือ ปัจจัยค้ำจุนด้านนโยบายและการบริหาร ด้านสภาพการปฏิบัติงาน และปัจจัยส่วนบุคคลด้านระยะเวลาการเป็น อสม. เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพจิตชุมชนของ อสม. จังหวัดตราด โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์การปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพจิตชุมชนของ อสม. ได้ร้อยละ 18.70 ที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13795
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2645000494.pdf935.01 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น