Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13796
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในทีมหมอครอบครัว อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Other Titles: Factors affecting the performance of village health volunteers  in Family Care Teams of Mueang Prachuap Khiri Khan District, Prachuap Khiri Khan Province
Authors: มยุรินทร์ เหล่ารุจิสวัสดิ์
ภัชรณีรยา อยู่สุข
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--การศึกษาเฉพาะกรณี
อาสาสมัครสาธารณสุข--ไทย--ประจวบคีรีขันธ์
การศึกษาอิสระ--บริหารสาธารณสุข
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคล ระดับปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงาน และระดับปัจจัยสุขอนามัยในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในทีมหมอครอบครัว (2) ระดับการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของ อสม.ในทีมหมอครอบครัว และ (3) ปัจจัยส่วนบุคคล ระดับปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงาน และระดับปัจจัยสุขอนามัยในการปฏิบัติงานที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของ อสม. ในทีมหมอครอบครัว อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้ประชากรที่ศึกษา คือ อสม. ที่ปฏิบัติงานในทีมหมอครอบครัว จำนวน 661 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างด้วยโปรแกรม G*Power 3.1 และสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ได้จำนวน 330 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน มีค่าความเชื่อมั่น ในด้านปัจจัยจูงใจ ปัจจัยสุขอนามัย และด้านการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของ อสม.ในทีมหมอครอบครัวเท่ากับ 0.94, 0.93, 0.99 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 57.10 ปี สถานภาพสมรส ร้อยละ 64.50 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 54.20 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 35.20 รายได้เฉลี่ยอยู่ในช่วง 5,000 – 10,000 บาท ร้อยละ 37.00 มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานเป็น อสม. เฉลี่ยเท่ากับ 14.97 ปี มีระดับปัจจัยจูงใจและระดับปัจจัยสุขอนามัยในการปฏิบัติงานของ อสม. ในทีมหมอครอบครัว อยู่ในระดับมาก (2) การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของ อสม. อยู่ในระดับปานกลางในทุกด้าน และ (3) ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของ อสม.ในทีมหมอครอบครัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ปัจจัยสุขอนามัยในการปฏิบัติงาน รายได้เฉลี่ย ระดับการศึกษา อาชีพ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และ เพศ สามารถร่วมกันทำนายการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของ อสม. ในทีมหมอครอบครัวได้ร้อยละ 19.50
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13796
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2645000536.pdf2.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.