Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13806
Title: | การประเมินผลการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา |
Authors: | เอกพล กาละดี ขวัญธิดา นิ่มนวล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--การศึกษาเฉพาะกรณี ไข้เลือดออก--ไทย--ฉะเชิงเทรา--การป้องกัน การศึกษาอิสระ--บริหารสาธารณสุข |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินของ สเตค (Stake, 1980) การวิจัยเชิงประเมินผลครั้งนี้ศึกษาจากตัวอย่าง 2 กลุ่ม ได้แก่ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จำนวน 41 คน และผู้นำชุมชนที่ปฏิบัติงานและอาศัยอยู่ใน อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 206 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและทดสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือ พบว่า แบบสอบถามชุดที่ 1 มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.85 0.88 และแบบสอบถามชุดที่ 2 มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.87 0.86 0.99 และ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย จำนวน ร้อยละ และการประมาณค่าช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ของร้อยละผลการศึกษาพบว่า 1) ผลการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ส่วนใหญ่มีปัญหาและอุปสรรคในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อม/ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ร้อยละ 80.50 และการสำรวจดัชนีลูกน้ำยุงลาย ร้อยละ 73.20 2) ผลการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของผู้นำชุมชน พบว่า มีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 78.16, 95% CI:71.88-83.60) และ 3) ผลการดำเนินงานการป้องกันและควบคุม โรคไข้เลือดออกเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานในปี 2566 อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสมจำนวน 156 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 95.42 ต่อแสนประชากรซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และมีอัตราตาย เท่ากับ 0 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดและมีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (HI, BI, CI) อยู่ในเกณฑ์ความเสี่ยงต่ำและปานกลาง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13806 |
Appears in Collections: | Health-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2645000718.pdf | 1.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.