กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13807
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สมโภช รติโอฬาร | th_TH |
dc.contributor.author | จิราภรณ์ อุดจัง | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2025-01-27T00:57:13Z | - |
dc.date.available | 2025-01-27T00:57:13Z | - |
dc.date.issued | 2566 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13807 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับสมรรถนะการปฏิบัติงาน 2) ระดับคุณภาพชีวิตในการทำงาน และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานกับสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้คือ บุคลากรกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 207 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่างจากสูตรของแดเนียลและสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามโครงสร้างของกลุ่มงานภายในกองบริหารการสาธารณสุขได้จำนวน 139 คน เครื่องมือคือแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจความตรงจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน มีค่าความตรงเท่ากับ 0.90 และทดสอบความเชื่อมั่นมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นด้วยวิธีของครอนบาค ภาพรวมทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ การแจกแจงความถี่ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า 1) สมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรกองบริหารการสาธารณสุขสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข อยู่ในระดับสูง 2) คุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากร อยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรได้แก่ ระดับการศึกษา (x̄ = 7.48, p = 0.014) และรายได้ต่อเดือน (x̄ = 0.23, p = 0.003) และปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากร ได้แก่ ความเกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อสังคม (x̄ = 0.53, p <0.001) โอกาสในการพัฒนาความสามารถ (x̄ = 0.46, p <0.001) ด้านการทำงานร่วมกัน (x̄ = 0.43, p <0.001) ด้านประชาธิปไตยในองค์กร (x̄ = 0.38, p <0.001) ด้านความมั่นคงและความก้าวหน้าในงาน(x̄ = 0.35, p <0.001) และ ด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของที่ทำงาน (x̄ = 0.23,p = 0.003) | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. กองบริหารการสาธารณสุข--ข้าราชการและพนักงาน | th_TH |
dc.subject | คุณภาพชีวิตการทำงาน | th_TH |
dc.subject | การศึกษาอิสระ--บริหารสาธารณสุข | th_TH |
dc.title | ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานที่สัมพันธ์กับสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข | th_TH |
dc.title.alternative | Factors of quality of work life related to the performance of personnel in health administration division, Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This independent study aimed to explore (1) performance level, (2) quality of work life level, and (3) relationships between personal and work-life quality factors and performance of personnel in the Health Administration Division (HAD), Office of the Permanent Secretary, Ministryof Public Health. This survey research involved a sample of 139 officials selected out of all 207 staff of the Health Administration Division, based on the Daniel's formula for sample size calculation. The instrument was a questionnaire that had been checked for validity by three experts with a validity value of 0.90; and a reliability test was performed using the Cronbach's method (reliability value, 0.95). Collected data were analyzed for percentage, frequency, standard deviation, chi-square test, and correlation coefficient. The findings revealed that: (1) the performance of HAD personnel was at a high level; (2) personnel’s quality of work life was also at a high level; and (3) personal factors related to personnel performance were educational level (x̄ = 7.48, p = 0.014) and monthly income (x̄ = 0.23, p = 0.003); and work-life quality factors related to personnel performance were social relevance and benefits (x̄ = 0.53, p <0.001), capacity development opportunity (x̄ = 0.46, p <0.001), social integration (x̄ = 0.43, p <0.001), organizational democracy(x̄ = 0.38, p <0.001), job security and advancement (x̄ = 0.35, p <0.001), and workplace environment and safety (x̄ = 0.23, p = 0.003). | en_US |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2645000759.pdf | 1.96 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น