Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13811
Title: | การพัฒนาสื่อแอนิเมชันการจัดการขยะในโรงงานอุตสาหกรรม ตามมาตรฐาน ISO14001:2015 |
Other Titles: | Development of animation media on industrial waste management according to ISO14001:2015 standards |
Authors: | อภิรดี ศรีโอภาส ภูเบนทร์ พันธุ์เวช มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี การสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยคอมพิวเตอร์ ของเสียจากโรงงาน--มาตรฐาน การศึกษาอิสระ--การจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การพัฒนาสื่อแอนิเมชันการจัดการขยะในโรงงานอุตสาหกรรมตามมาตรฐาน ISO14001:2015 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) จัดทำสื่อแอนิเมชันให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะในโรงงานอุตสาหกรรมตามมาตรฐาน ISO14001:2015 2) ประเมินความรู้ก่อนและหลังการใช้สื่อแอนิเมชันการจัดการขยะในโรงงานอุตสาหกรรมตามมาตรฐาน ISO14001:2015 และ 3) ประเมินความพึงพอใจของการใช้สื่อแอนิเมชันการจัดการขยะในโรงงานอุตสาหกรรมตามมาตรฐาน ISO14001:2015 งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลองแบบศึกษากลุ่มเดียววัดก่อน-หลังการทดลอง เครื่องมือวิจัยประกอบไปด้วยสื่อแอนิเมชันที่พัฒนาขึ้นเป็นวิดีทัศน์ความยาว 13 นาที ให้ความรู้เรื่องวิธีการคัดแยกขยะและการรวบรวมขยะในโรงงานอุตสาหกรรม แบบประเมินความรู้ก่อนและหลังการใช้สื่อแอนิเมชัน และแบบประเมินความพึงพอใจของการใช้สื่อแอนิเมชัน ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน จากนั้นนำสื่อแอนิเมชันดังกล่าวไปอบรมให้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นพนักงานในฝ่ายผลิตของโรงงานประกอบชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่ง จังหวัดปทุมธานี จำนวน 30 คน ที่คัดเลือกด้วยวิธีการเจาะจง กลุ่มตัวอย่างได้ทำแบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังอบรม และทำแบบประเมินความพึงพอใจหลังการอบรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบจับคู่ ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อแอนิเมชันการจัดการขยะในโรงงานอุตสาหกรรมตามมาตรฐาน ISO14001:2015 มีผลการประเมินความคิดเห็นโดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุดทุกรายการ 2) ผลการเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังอบรม พบว่าคะแนนเฉลี่ยหลังอบรมโดยภาพรวมคือ 13.60 คะแนน มีค่าสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนอบรมคือ 10.10 คะแนนจากคะแนนเต็ม 15 คะแนน โดยผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังอบรมมีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อสื่อแอนิเมชันอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13811 |
Appears in Collections: | Health-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2645001062.pdf | 5.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.