กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13816
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorกิระพล กาละดีth_TH
dc.contributor.authorปรมินทร์ ผาแก้วth_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2025-01-27T00:57:18Z-
dc.date.available2025-01-27T00:57:18Z-
dc.date.issued2566-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13816en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ส.ม. (บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566th_TH
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะส่วนบุคคล พฤติกรรมดูแลสุขภาพและ ความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลและ 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลของบุคลากรในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางครั้งนี้ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นบุคลากรในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมที่มีอายุ 18-60 ปี จำนวน 261 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบโดยใช้แบบสอบถามที่ประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล ระดับของพฤติกรรมการดูสุขภาพ และระดับความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล มีความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.79 และ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติถดถอยพหุลอจิสติกและนำเสนอผลการศึกษาด้วยค่าออดส์เรโชว์และช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงร้อยละ 70.5 อายุเฉลี่ย 38.65 ปี (S.D.=9.18)  สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 54.0 รายได้ต่อเดือนเฉลี่ย 30,406.84 บาท (S.D.=15,911.81)  เป็นข้าราชการมากที่สุด ร้อยละ 71.6 อายุงานเฉลี่ย 9 ปี 6 เดือน ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 81.2 เคยได้รับข้อมูลข่าวสารด้านยา ร้อยละ 67.8  ไม่เคยอบรมด้านการใช้ยาอย่างปลอดภัย ร้อยละ 92.0 มีพฤติกรรมดูแลสุขภาพภาพรวมอยู่ในระดับไม่เพียงพอ  ( x̅ =97.24, S.D.=10.43) มีความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลภาพรวมอยู่ในระดับไม่เพียงพอ ( x̅ =134.71, S.D.=17.89) และ 2) เมื่อควบคุมอิทธิพลของปัจจัยอื่นๆ แล้ว พบว่า ปัจจัยด้านพฤติกรรมดูแลสุขภาพมีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p-value<0.001) โดยผู้ที่มีพฤติกรรมดูแลสุขภาพระดับไม่เพียงพอมีโอกาสที่จะมีความรอบรู ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลไม่เพียงพอเป็น 4.30 เท่าของผู ้ที่มีพฤติกรรมดูแลสุขภาพระดับเพียงพอ (AOR=4.30, 95% CI: 2.42-7.62)th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectสำนักงานศาลยุติธรรม--ข้าราชการและพนักงาน--การใช้ยาth_TH
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลของบุคลากรในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมth_TH
dc.title.alternativeFactors related to rational drug use literacy of personnel in The Office of the Court of Justiceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research aims to study: 1) personal characteristics, health care behaviors, and rational drug use literacy, and 2) factors related to rational drug use literacy of personnel in the office of the Court of Justice. This cross-sectional analytical study was conducted with a sample of 261 personnel in the office of the Court of Justice, aged 18-60 years, selected through systematic random sampling. The questionnaire included sections on personal factors, health behavior levels, and rational drug use literacy levels. The reliability coefficients of the questionnaire were 0.79 and 0.89. Data analysis was performed using descriptive statistics, multiple logistic regression, and results were presented using odds ratios and 95% confidence intervals.The study results showed that: 1) the sample group consisted of 70.5% females, with an average age of 38.65 years (S.D.=9.18). The majority 54.0% had a bachelor's degree, with an average monthly income of 30,406.84 THB (S.D. = 15,911.81). Most participants were government officer 71.6%, with an average work experience of 9 years and 6 months. 81.2% had no chronic diseases, 67.8% had received information about drugs, but 92.0% had never attended training on the safe use of drug. Overall, health care behavior was rated as insufficient (x̅ = 97.24, S.D.= 10.43) , and rational drug use literacy was also insufficient ( x̅ = 134.71, S.D. = 17.89) and 2) After controlling for other factors, it was found that health behavior was significantly related to rational drug use literacy (p-value < 0.001). Those with insufficient health behavior were 4.30 times more likely to have insufficient rational drug use literacy compared to those with sufficient health behavior (AOR = 4.30, 95% CI: 2.42-7.62).en_US
dc.contributor.coadvisorวรางคณา จันทร์คงth_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2655000871.pdf1.32 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น