Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13817
Title: | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท |
Other Titles: | Factors associated to decision for receive HPV vaccination among female high school students, Mueang Chai Nat District, Chai Nat Province |
Authors: | วรางคณา จันทร์คง จิรารัตน์ ม่วงพุ่ม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา กิระพล กาละดี |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--วิทยานิพนธ์ ปากมดลูก--มะเร็ง--การให้วัคซีน |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคล ความรู้ ทัศนคติ และความรอบรู้ด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งปากมดลูกและวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก(2) การตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก และ (3) อิทธิพลลักษณะส่วนบุคคล ความรู้ ทัศนคติและความรอบรู้ด้านสุขภาพ กับการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในอำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาทการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้ ทำการศึกษาในนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท จำนวน 963 คน คำนวณขนาดตัวอย่างโดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป G*Power 3.1.9.6 โดยใช้ค่า Power (1 – β err prob) 0.8 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 246 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่มีค่าความตรงของเนื้อหา เท่ากับ 0.95 และได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.79 โดยข้อคำถามความรู้ได้ค่า KR 20 เท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติการถดถอยพหุเชิงเส้นโลจิสติกผลการศึกษา พบว่า (1) นักเรียนส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ย 16.25 ปี ศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดชัยนาท บิดามารดาส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง มีรายได้ครอบครัวต่อเดือน มากกว่า 25,000 บาท ส่วนใหญ่ไม่มีคนในครอบครัวหรือเพื่อนสนิทที่เป็นมะเร็งปากมดลูกและเคยฉีดวัคซีนเคยมีแฟนหรือคนรัก แต่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ประจำเดือนมาปกติ เต็มใจที่จะรับวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก มีความรู้อยู่ในระดับสูง ทัศนคติอยู่ในระดับดีมาก ความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับดีมาก (2) การตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่มีความตั้งใจที่จะฉีดอย่างแน่นอน และ (3) ปัจจัยระดับการศึกษาและระดับทัศคติมีความสัมพันธ์กับฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพบว่า กลุ่มนักเรียนหญิงมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีโอกาสที่จะฉีดวัคซีนมากกว่า กลุ่มนักเรียนหญิงมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็น 2.21 เท่า และกลุ่มที่มีทัศนคติระดับดีมาก มีโอกาสที่จะฉีดวัคซีนมากกว่ากลุ่มที่มีระดับทัศนคติระดับปานกลาง เป็น 3.00 เท่า |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม. (บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13817 |
Appears in Collections: | Health-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2655000889.pdf | 1.75 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.