Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13817
Title: | Factors Associated to Decision for Receive HPV Vaccination Among Female High School Students, Mueang Chai Nat District, Chai Nat Province ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท |
Authors: | JIRARAT MOUNGPHUM จิรารัตน์ ม่วงพุ่ม Warangkana Chankong วรางคณา จันทร์คง Sukhothai Thammathirat Open University Warangkana Chankong วรางคณา จันทร์คง [email protected] [email protected] |
Keywords: | มะเร็งปากมดลูก วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ความรอบรู้ด้านสุขภาพ Cervical cancer HPV vaccine Health literacy |
Issue Date: | 5 |
Publisher: | Sukhothai Thammathirat Open University |
Abstract: | This research aimed to explore: (1) the factors related to personal characteristics, knowledge, attitudes, and health literacy concerning cervical cancer and the HPV vaccine; (2) the decisions to receive the HPV vaccine; and (3) the influence of personal characteristics, knowledge, attitudes, and health literacy on the decisions to receive the HPV vaccine among female high school students in Chai Nat’s Mueang district.This a cross-sectional analysis research was conducted among 246 students selected from 963 female high school students in the Mueang district. The sample size was calculated using the G*Power 3.1.9.6 software [Power (1-β err prob) 0.8]. The research instrument was a questionnaire with a content validity index of 0.95 and a reliability score of 0.79. The knowledge-related questions yielded a KR-20 score of 0.95. Data were collected and then analyzed using frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, and logistic regression analysis.The findings revealed that, among the participants: (1) Most of them were 16 years old on average, studying in grade 11, residing in Chai Nat with parents who were mostly laborers and had a family income exceeding 25,000 baht per month. Mostly they did not have family members or close friends with cervical cancer, nor had they received the HPV vaccine. They had had a boyfriend or romantic partner but had never had sexual intercourse, and had regular menstrual cycles. They were willing to receive the HPV vaccine, had a high level of knowledge, good attitudes, and very good health literacy. (2) Most of them were strongly determined to receive the HPV vaccine. (3) Educational level and attitudes were significantly associated with the decisions to receive the HPV vaccine. Students in grade 12 were 2.21 times more likely to receive the vaccine than those in grade 11, and those with a higher level of attitudes were 3 times more likely to receive the vaccine than those with a moderate level of attitudes. การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคล ความรู้ ทัศนคติ และความรอบรู้ด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งปากมดลูกและวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก(2) การตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก และ (3) อิทธิพลลักษณะส่วนบุคคล ความรู้ ทัศนคติและความรอบรู้ด้านสุขภาพ กับการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในอำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาทการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้ ทำการศึกษาในนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท จำนวน 963 คน คำนวณขนาดตัวอย่างโดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป G*Power 3.1.9.6 โดยใช้ค่า Power (1 – β err prob) 0.8 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 246 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่มีค่าความตรงของเนื้อหา เท่ากับ 0.95 และได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.79 โดยข้อคำถามความรู้ได้ค่า KR 20 เท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติการถดถอยพหุเชิงเส้นโลจิสติกผลการศึกษา พบว่า (1) นักเรียนส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ย 16.25 ปี ศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดชัยนาท บิดามารดาส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง มีรายได้ครอบครัวต่อเดือน มากกว่า 25,000 บาท ส่วนใหญ่ไม่มีคนในครอบครัวหรือเพื่อนสนิทที่เป็นมะเร็งปากมดลูกและเคยฉีดวัคซีนเคยมีแฟนหรือคนรัก แต่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ประจำเดือนมาปกติ เต็มใจที่จะรับวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก มีความรู้อยู่ในระดับสูง ทัศนคติอยู่ในระดับดีมาก ความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับดีมาก (2) การตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่มีความตั้งใจที่จะฉีดอย่างแน่นอน และ (3) ปัจจัยระดับการศึกษาและระดับทัศคติมีความสัมพันธ์กับฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพบว่า กลุ่มนักเรียนหญิงมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีโอกาสที่จะฉีดวัคซีนมากกว่า กลุ่มนักเรียนหญิงมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็น 2.21 เท่า และกลุ่มที่มีทัศนคติระดับดีมาก มีโอกาสที่จะฉีดวัคซีนมากกว่ากลุ่มที่มีระดับทัศนคติระดับปานกลาง เป็น 3.00 เท่า |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13817 |
Appears in Collections: | Health-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2655000889.pdf | 1.75 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.