Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13818
Title: การศึกษาความแตกต่างด้านปริมาณและความสัมพันธ์ด้านระยะเวลาของการบริโภคพืชกระท่อมที่ส่งผลต่อระดับสารชีวเคมีของระบบทางเดินอาหารในกลุ่มประชากรเพศชายที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประเทศไทย
Other Titles: Differentiation of kratom consumption amounts and correlation of consumption time periods effect to biochemical substance levels in male’s gastrointestinal tracts in Southern Border Provinces, Thailand
Authors: อนัญญา ประดิษฐปรีชา
พศิน ธวัชเกียรติศักดิ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ธัญญรัศม์ อุทัยพันธ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารโรงพยาบาล--วิทยานิพนธ์
กระท่อม (พืช)
ระบบกระเพาะอาหารและลำไส้
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลของการบริโภคพืชกระท่อมที่มีต่อสารชีวเคมีของระบบ ทางเดินอาหาร และ 2) ค่าการอักเสบในความแตกต่างทั้งด้านปริมาณและความสัมพันธ์ด้านระยะเวลาในผู้บริโภคเพศชาย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง ประชากรที่ศึกษาคือประชากรเพศชายที่บริโภค พืชกระท่อมและอาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ใช้สูตรการคำนวณขนาดตัวอย่างกรณีไม่ ทราบประชากรและสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนจำนวน 87 ราย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และเจาะ เก็บเลือด ทดสอบความเชื่อมั่นโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคมีค่าเท่ากับ 0.71 วิเคราะห์ข้อมูลโดย หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างโดยการทดสอบค่าทีแบบอิสระ ต่อกัน การทดสอบแมนท์วิทนียูเทส และหาความสัมพันธ์โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน สัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์เชิงอันดับของสเปียร์แมน พร้อมแสดงแผนภาพการกระจายของข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของการตรวจวัดอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง มีแนวโน้มสูง กว่าค่าอ้างอิงและสูงกว่าค่ากลางของค่าอ้างอิงในขณะที่ค่าเฉลี่ยของสารชีวเคมีรายการอื่น ๆ อยู่ภายในค่าอ้างอิง ด้านปริมาณการบริโภค (< 40 กับ ≥ 40 ใบต่อวัน) ความถี่การบริโภค (< 10 กับ ≥ 10 ครั้งต่อวัน) และ จำนวน การบริโภค (< 8 กับ ≥ 8 แก้วต่อวัน) ทุกรายการไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 2) ความสัมพันธ์ด้านระยะเวลาการบริโภคกับสารชีวเคมีและค่าการอักเสบ พบว่าไม่มีความสัมพันธ์ต่อระดับสาร ชีวเคมียกเว้นค่าเฉลี่ยของการตรวจวัดอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดงที่สูงขึ้นเล็กน้อย ถึงกระนั้นผู้บริโภค ยังคงต้องบริโภคในปริมาณที่เหมาะสมและใช้ในรูปแบบของการเป็นพืชสมุนไพรตามแนวทางของกระทรวง สาธารณสุขกำหนดอย่างเคร่งครัดต่อไป
Description: วิทยานิพนธ์ (ส.ม. (บริหารโรงพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13818
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2655001051.pdf4.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.