Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13819
Title: | การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการส่งเสริมชุมชนเข้มแข็งบนพื้นฐาน ชุมชนาธิปไตย : กรณีศึกษา บ้านผาแดง ตำบลบ้านร้อง อำเภองาว จังหวัดลำปาง |
Other Titles: | Public participation in contributing to the community strength upon democratic community : a case study of Baan Pha Daeng, Ban Rong Sub-district, Ngao District, Lampang Province |
Authors: | วรวลัญช์ วัฒนเดชไพศาล ปิติภัทร มาทา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี การพัฒนาชุมชน--ไทย--ลำปาง--การมีส่วนร่วมของประชาชน ประชาธิปไตย การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการส่งเสริมชุมชนเข้มแข็งบนพื้นฐานชุมชนาธิปไตยในพื้นที่บ้านผาแดง ตำบลบ้านร้อง อำเภองาว จังหวัดลำปาง (2) ปัญหาและอุปสรรคของการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการส่งเสริมชุมชนเข้มแข็งบนพื้นฐานชุมชนาธิปไตยในพื้นที่บ้านผาแดง ตำบลบ้านร้อง อำเภองาว จังหวัดลำปาง (3) ข้อเสนอแนะ แนวทางแก้ไขปัญหาของการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการส่งเสริมชุมชนเข้มแข็งบนพื้นฐานชุมชนาธิปไตยในพื้นที่บ้านผาแดง ตำบลบ้านร้อง อำเภองาว จังหวัดลำปางการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรมีทั้งหมด 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มคณะกรรมการหมู่บ้าน กลุ่มปราชญ์ชุมชน กลุ่มบุคคลทั่วไปในชุมชน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง รวม 15 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาผลการศึกษาพบว่า (1) การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการส่งเสริมชุมชนเข้มแข็งบนพื้นฐาน ชุมชนาธิปไตยในพื้นที่บ้านผาแดงที่ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 4 ด้าน ได้แก่ การรวมตัวกันของสมาชิกชุมชน การสร้างเครือข่ายชุมชน การสร้างสรรค์วัฒนธรรมชุมชน และการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนแบบพึ่งพาตนเอง (2) ปัญหาและอุปสรรคของการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในพื้นที่บ้านผาแดง คือ การขาดความรู้ในกระบวนการจัดทำแผนชุมชน เครือข่ายชุมชนขาดความสามัคคี ไม่สามารถรวมตัวกันในการพัฒนาหมู่บ้าน รวมทั้งขาดการบริหารจัดการขับเคลื่อนกิจกรรมพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่อง (3) ข้อเสนอแนะ แนวทางแก้ไขปัญหาของการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในพื้นที่บ้านผาแดง ดังนี้ การเพิ่มทักษะวิทยากรกระบวนการของคณะกรรมการหมู่บ้านในการจัดทำแผนชุมชน การส่งเสริมกลยุทธ์กลุ่มของเครือข่ายชุมชน การปลูกฝังประชาชนให้มีวัฒนธรรมประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม รวมทั้งมีการประชุมถอดบทเรียน เพื่อวางแผน ขับเคลื่อนกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้านให้เกิดความยั่งยืนในอนาคต |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13819 |
Appears in Collections: | Pol-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2608000622.pdf | 3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.