Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13821
Title: การศึกษาเปรียบเทียบการทุจริตเลือกตั้งของเทศบาลตำบลเกวียนหักและองค์การบริหารส่วนตำบลตะปอน จังหวัดจันทบุรี ภายหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562
Other Titles: Comparative study of election frauds between Kwian Hug Subdistrict Municipality and Tapon Subdistrict Administrative Organization, Chanthaburi Province: After The Promulgation of The 2019 Local Council Members or Local Administrators Election Act.
Authors: ยุทธพร อิสรชัย
กรุณา กิจปรีชา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น--การศึกษาเฉพาะกรณี
การเลือกตั้ง--การทุจริต--ไทย--จันทบุรี
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครองท้องถิ่น
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาเปรียบเทียบการทุจริตเลือกตั้งของเทศบาลตำบลเกวียนหักและองค์การบริหารส่วนตำบลตะปอน จังหวัดจันทบุรี ภายหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 ทำการศึกษาเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่นโดยเปรียบเทียบระหว่างเทศบาลตำบลเกวียนหักและองค์การบริหารส่วนตำบลตะปอน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี 2) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคในการเลือกตั้งท้องถิ่น และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาและป้องกันการทุจริตเลือกตั้งผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 21 คน จากกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling)ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น/กำนัน, กลุ่มหัวคะแนน ประชากรผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และกลุ่มกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการเลือกตั้ง ผู้อำนวยการการเลือกตั้ง ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกในการเก็บรวมรวมข้อมูล และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาผลการศึกษาพบว่า เทศบาลตำบลเกวียนหัก และองค์การบริหารส่วนตำบลตะปอน มีรูปแบบการทุจริตการเลือกตั้งที่คล้ายกัน คือ 1) การทุจริตในส่วนภาครัฐหรือเจ้าหน้าที่ ได้แก่ การจัดให้มีคนของตนเข้าไปร่วมเป็นคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อประโยชน์ในการใช้อำนาจรัฐทุจริตการเลือกตั้ง 2) การทุจริตในส่วนที่มีผู้สมัครหรือคู่แข่งขันจำนวนมาก ได้แก่ การใช้ระบบอุปถัมภ์เพื่อผลประโยชน์ต่อกัน การใช้หัวคะแนนเพื่อวางแผนการเลือกตั้ง 3) การทุจริตในส่วนผู้สมัครที่มีจำนวนน้อยราย จะพบได้ในเทศบาลตำบลตะปอนได้แก่ กลุ่มผู้มีอิทธิพลทางการเมืองในท้องถิ่น จะถูกเลือกให้เป็นผู้นำหลายสมัยต่อเนื่องกัน ผู้ศึกษาได้ศึกษาปัญหาอุปสรรคการเลือกตั้ง พบว่า เทศบาลตำบลเกวียนหัก และองค์การบริหารส่วนตำบลตะปอน มีรูปแบบปัญหาอุปสรรคการเลือกตั้งที่คล้ายกัน คือ 1) ปัญหาที่เกิดจากการกระทำของภาครัฐ ได้แก่ คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นกลุ่มคนของผู้สมัครรับเลือกตั้ง และ 2) ปัญหาที่เกิดจากการกระทำของภาคประชาชน ได้แก่ การขายเสียง ทั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ได้จากการศึกษา ได้แก่ ควรแก้ไขปัญหาระบบอุปถัมภ์ในสังคมไทย และปรับแก้ไขโครงสร้างเศรษฐกิจ ลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ ของประชากรส่วนใหญ่ในประเทศ  เป็นต้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13821
Appears in Collections:Pol-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2618000703.pdf3.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.