Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13827
Title: | Conflict between people in local government organizations in Rayong Province With IRPC Public Company Limited, case study of public land In the IRPC operating area ความขัดแย้งระหว่างประชาชนในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดระยอง กับบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) กรณีศึกษาที่ดินสาธารณะในเขตประกอบการอุตสาหกรรมไออาร์พีซี |
Authors: | Wannee Rujiradech วรรณี รุจิรเดช Thasothorn Tootongkam ธโสธร ตู้ทองคำ Sukhothai Thammathirat Open University Thasothorn Tootongkam ธโสธร ตู้ทองคำ [email protected] [email protected] |
Keywords: | ความขัดแย้ง ประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไออาร์พีซี ที่ดินสาธารณะ Conflict Local People Local Administrative Organization IRPC Public Land |
Issue Date: | 21 |
Publisher: | Sukhothai Thammathirat Open University |
Abstract: | The objectives of this study were (1) to examine the conflicts between local people in the local administrative organizations in Rayong Province and IRPC Public Company Limited; (2) to identify the factors contributing to the conflicts between the local people in the local administrative organizations in Rayong Province and IRPC Public Company Limited and; (3) to propose solutions for resolving the conflicts between the local people in the local administrative organizations in Rayong Province and IRPC Public Company Limited.This study was qualitative research conducted through document analysis and interviews with purposive sampling, which consisted of six groups: (1) 3 local politicians, (2) 10 government officials, (3) 14 executives and employees of IRPC Public Company Limited, (4) 7 civil society leaders, (5) 7 academics and media professionals, and (6) 9relevant local people—50 samples in total. The research instruments included document collection and interview forms, and then the data was analyzed using descriptive analysis.This study found that (1) the conflict arose from the designation of the IRPC industrial estate and the fencing of the boundaries, which included public land, canals, ditches, and roads. This resulted in the public being unable to access or utilize the land, leading to environmental degradation and disputes over land rights. The withdrawal of public land from private sectors has motivated people to protect their rights to public land. (2) There were three factors contributing to the conflict: (2.1) Structural factors, where the power allowed relevant government agencies to make decisions regarding the management of public land. The declaration of the IRPC industrial estate zone on public land demonstrated the intent of local administrative organizations and related agencies to focus on economic development. (2.2) Benefit-based factors, where government agencies sought to benefit from approving the transfer of public land to private entities, resulting in the public losing their rights to use the land. (2.3) Value-based factors, where the public held a negative perspective on IRPC industrial estate, perceiving that the government was collaborating with the private sector while ignoring the opinions of minority groups. (3) The solutions to conflicts could be identified into two approaches. Firstly, the compromising approach, where government agencies, private sectors, and the public sector collaborated to create a joint committee to resolve issues together as a network. Secondly, the competitive approach, where some affected members of the public refused to discuss due to distrust in the government agencies and private sector involved. การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) ความขัดแย้งระหว่างประชาชนในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดระยอง กับบริษัท ไออาร์พีซี จํากัด (มหาชน) (2) ปัจจัยความขัดแย้งระหว่างประชาชนในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดระยอง กับบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (3) การแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประชาชนในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดระยอง กับบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์ด้วยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ (1) นักการเมืองท้องถิ่น จำนวน 3 คน (2) เจ้าหน้าที่รัฐ จำนวน 10 คน (3) ผู้บริหารและพนักงานบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) จำนวน 14 คน (4) ผู้นำภาคประชาสังคม จำนวน 7 คน (5) นักวิชาการ สื่อสารมวลชน จำนวน 7 คน (6) ประชาชนที่เกี่ยวข้อง โดยคัดเลือกจากประชาชนชน จำนวน 9 คน รวมทั้งสิ้น 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบเก็บเอกสาร และแบบสัมภาษณ์ เป็นการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า (1) ความขัดแย้งเกิดจากการประกาศเขตประกอบการอุตสาหกรรมไออาร์พีซี และการล้อมรั้วกั้นแนวเขต ซึ่งมีที่ดินสาธารณะ คูคลอง ลำราง ถนน อยู่ในพื้นที่ดังกล่าว ทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้าใช้ประโยชน์ได้ สภาพแวดล้อมเกิดความเสื่อมโทรม และเกิดการแย่งชิงสิทธิในที่ดิน การยื่นถอนที่ดินสาธารณะจากภาคเอกชนเป็นแรงกระตุ้นให้ประชาชนรวมกลุ่มออกมาเรียกร้องสิทธิในที่ดินสาธารณะ (2) ปัจจัยความขัดแย้งพิจารณาได้ 3 ปัจจัย คือ (2.1) ด้านโครงสร้าง ภายใต้ความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ภาครัฐ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีอำนาจตัดสินใจในการบริหารจัดการที่ดินสาธารณะ การประกาศพื้นเขตประกอบการอุตสาหกรรมไออาร์พีซี ในที่ดินสาธารณะ แสดงให้เห็นถึงเจตนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการมุ่งพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ (2.2) ด้านผลประโยชน์ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุมัติในการมอบที่ดินให้เอกชน ทำให้ประชาชนเสียสิทธิในการใช้ที่ดินดังกล่าว และ (2.3) ด้านค่านิยม พบว่าประชาชนมีมุมมองต่อผลกระทบเขตประกอบการอุตสาหกรรมไออาร์พีซีในเชิงลบ และมองว่าภาครัฐร่วมมือกับภาคเอกชน โดยไม่ฟังเสียงประชาชนส่วนน้อย (3) การแก้ปัญหาความขัดแย้งจากการศึกษาใช้ 2 วิธีการ คือ แบบประนีประนอม โดยหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน จัดให้มีคณะกรรมการร่วมแก้ไขปัญหาร่วมกันเป็นภาคีเครือข่าย และแบบแข่งขัน จากการที่ประชาชนบางส่วนที่ได้ผลกระทบจะปฏิเสธการพูดคุย เนื่องจากไม่ไว้วางใจหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13827 |
Appears in Collections: | Pol-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2628001675.pdf | 7.96 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.