Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13827
Title: ความขัดแย้งระหว่างประชาชนในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดระยอง กับบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) กรณีศึกษาที่ดินสาธารณะในเขตประกอบการอุตสาหกรรมไออาร์พีซี
Other Titles: Conflict between people in local government organizations in Rayong Province With IRPC Public Company Limited, case study of public land In the IRPC operating area
Authors: ธโสธร ตู้ทองคำ
วรรณี รุจิรเดช
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น--การศึกษาเฉพาะกรณี
ความขัดแย้งระหว่างบุคคล--ไทย--ระยอง
ที่ดินสาธารณะ--ไทย--ระยอง
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครองท้องถิ่น
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) ความขัดแย้งระหว่างประชาชนในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดระยอง กับบริษัท ไออาร์พีซี จํากัด (มหาชน) (2) ปัจจัยความขัดแย้งระหว่างประชาชนในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดระยอง กับบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (3) การแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประชาชนในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดระยอง กับบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์ด้วยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ (1) นักการเมืองท้องถิ่น จำนวน 3 คน (2) เจ้าหน้าที่รัฐ จำนวน 10 คน (3) ผู้บริหารและพนักงานบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) จำนวน 14 คน (4) ผู้นำภาคประชาสังคม จำนวน 7 คน      (5) นักวิชาการ สื่อสารมวลชน จำนวน 7 คน (6) ประชาชนที่เกี่ยวข้อง โดยคัดเลือกจากประชาชนชน จำนวน 9 คน รวมทั้งสิ้น 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบเก็บเอกสาร และแบบสัมภาษณ์ เป็นการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า (1) ความขัดแย้งเกิดจากการประกาศเขตประกอบการอุตสาหกรรมไออาร์พีซี และการล้อมรั้วกั้นแนวเขต ซึ่งมีที่ดินสาธารณะ คูคลอง ลำราง ถนน อยู่ในพื้นที่ดังกล่าว ทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้าใช้ประโยชน์ได้ สภาพแวดล้อมเกิดความเสื่อมโทรม และเกิดการแย่งชิงสิทธิในที่ดิน การยื่นถอนที่ดินสาธารณะจากภาคเอกชนเป็นแรงกระตุ้นให้ประชาชนรวมกลุ่มออกมาเรียกร้องสิทธิในที่ดินสาธารณะ (2) ปัจจัยความขัดแย้งพิจารณาได้ 3 ปัจจัย คือ (2.1) ด้านโครงสร้าง ภายใต้ความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ภาครัฐ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีอำนาจตัดสินใจในการบริหารจัดการที่ดินสาธารณะ การประกาศพื้นเขตประกอบการอุตสาหกรรมไออาร์พีซี ในที่ดินสาธารณะ แสดงให้เห็นถึงเจตนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการมุ่งพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ (2.2) ด้านผลประโยชน์ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุมัติในการมอบที่ดินให้เอกชน ทำให้ประชาชนเสียสิทธิในการใช้ที่ดินดังกล่าว และ (2.3) ด้านค่านิยม พบว่าประชาชนมีมุมมองต่อผลกระทบเขตประกอบการอุตสาหกรรมไออาร์พีซีในเชิงลบ และมองว่าภาครัฐร่วมมือกับภาคเอกชน โดยไม่ฟังเสียงประชาชนส่วนน้อย (3) การแก้ปัญหาความขัดแย้งจากการศึกษาใช้ 2 วิธีการ คือ แบบประนีประนอม โดยหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน จัดให้มีคณะกรรมการร่วมแก้ไขปัญหาร่วมกันเป็นภาคีเครือข่าย และแบบแข่งขัน จากการที่ประชาชนบางส่วนที่ได้ผลกระทบจะปฏิเสธการพูดคุย เนื่องจากไม่ไว้วางใจหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13827
Appears in Collections:Pol-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2628001675.pdf7.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.