Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13828
Title: | วีรสตรีสร้างชาติ - ชาติสร้างวีรสตรี : การสร้างอุดมการณ์ชาตินิยมในท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทร ในสมัยรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม |
Other Titles: | Heroines created a nation – A Nation created heroines: The making of nationalism on Thao Thep Krasattri and Thao Si Sunthon’s heroism in Phibunsongkhram’s period |
Authors: | พิศาล มุกดารัศมี ชลธิศ เข้มแข็ง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี วีรสตรี--ไทย รัฐบาล--ไทย--สมัย จอมพลแปลก พิบูลสงคราม, 2491-2500 รัฐประชาชาติ การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ คือ [1] เพื่อศึกษาวิเคราะห์วีรกรรมของท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทร ตลอดจนประวัติของสองวีรสตรีที่มีความเกี่ยวเนื่องกับการเป็นผู้นำท้องถิ่นของการเมืองท้องถิ่น และการเมืองของส่วนกลางที่กรุงเทพมหานคร ผ่านประวัติศาสตร์นิพนธ์ งานเขียนทางประวัติศาสตร์ วรรณกรรม บทละคร [2] เพื่อศึกษากระบวนการสร้างความเป็นชาตินิยม ในวีรกรรมของท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทร ในฐานะวีรสตรีของชาติ อันเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม [3] เพื่อศึกษาวิเคราะห์การรับรู้ เรื่องราววีรกรรมของท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทรของประชาชนในท้องถิ่น และส่วนกลาง และ [4] เพื่อศึกษาวิเคราะห์บริบททางการเมือง ที่ส่งผลต่อการรับรู้เรื่องราวของสองวีรสตรีเมืองถลาง และการเขียนประวัติศาสตร์นิพนธ์เกี่ยวกับวีรกรรมท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทร วิธีการวิจัย เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการศึกษาทางประวัติศาสตร์ และได้ทำการนำเสนอเนื้อหาด้วยการวิเคราะห์ในเชิงพรรณนา เป็นแนวทางการวิเคราะห์เชิงบริบท ซึ่งได้ดำเนินการโดยการใช้แนวคิดชาตินิยม แนววิเคราะห์ทางการเมืองด้วยแนวคิดประวัติศาสตร์ ทำการวิเคราะห์ ศึกษาจากเอกสารทางประวัติศาสตร์ เพื่อให้ทราบถึงบริบททางการเมืองที่ก่อให้เกิดการเขียนประวัติศาสตร์นิพนธ์เกี่ยวกับวีรกรรมของท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทร ผลการศึกษาพบว่า การสร้างชาตินิยมในวีรกรรมของท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทรในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้บรรลุเป้าประสงค์ที่รัฐบาลต้องการ ซึ่งมีดังนี้ [1] การศึกษาประวัติศาสตร์นิพนธ์ งานเขียน วรรณกรรม และบทละครที่เกี่ยวกับวีรกรรมของสองวีรสตรี สะท้อนแนวคิดชาตินิยมที่เกิดขึ้นในงานประพันธ์เหล่านั้น [2] กระบวนการสร้างแนวคิดชาตินิยมในเรื่องราวนั้นทำให้วีรกรรมของท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทรเป็นแบบอย่างของความรักชาติที่รุนแรง และการส่งเสริมชาตินิยมทางทหาร ในฐานะวีรสตรีของชาติและวีรสตรีสามัญชนที่แข่งขันกับวีรชนที่เป็นกษัตริย์ อันเป็นบริบททางการเมืองสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม [3] การรับรู้เรื่องราววีรกรรมของวีรสตรีของประชาชนส่วนกลางและท้องถิ่นสะท้อนความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างกรุงเทพมหานครฯ กับเมืองห่างไกลอย่างถลาง ในแต่ละยุคสมัยมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการสร้างความเป็นชาตินิยมในวีรกรรมของวีรสตรีเมืองถลาง [4] บริบททางการเมืองในแต่ละยุคสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ส่งผลต่อการรับรู้เรื่องราวของสองวีรสตรีรวมถึงงานประวัติศาสตร์นิพนธ์ ในลักษณะการสร้างความเป็นชาตินิยมในวีรกรรม เข้าไปก่อรูปลักษณ์การเมืองเพื่อรับใช้ผู้มีอำนาจการปกครอง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13828 |
Appears in Collections: | Pol-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2638000071.pdf | 1.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.