Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13829
Title: | การใช้แนวคิดประชานิยม กรณีศึกษานโยบายคนละครึ่งของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชากรณีศึกษาบ้านหนองเป็ด ต.ท่าใหญ่ จ.ชัยภูมิ |
Other Titles: | Using the concept of populism A case study of the General Prayut Chan-ocha government's Half/half Co-payment scheme with specific to Ban Nong Ped,Tha Yai Subdistrict,Chaiyaphum Province |
Authors: | พิศาล มุกดารัศมี พราวภิราษ สมเพชร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี นโยบายคนละครึ่ง ชัยภูมิ--นโยบายเศรษฐกิจ การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | งานวิจัยฉบับนี้เป็นการนำแนวคิดประชานิยม กรณีศึกษานโยบายคนละครึ่งของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางพัฒนาการดำเนินงานตามนโยบายโครงการคนละครึ่งของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา 2) ศึกษาผลการดำเนินโครงการคนละครึ่ง ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ภายใต้แนวคิดประชานิยม ดำเนินการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการศึกษากรณีเฉพาะ กรณีศึกษาใน บ้านหนองเป็ด ต.ท่าใหญ่ อ.หนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ ผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลักคือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของนโยบายคนละครึ่ง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยมีทั้งหมด 15 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.ผู้ประกอบการร้านค้า 5 คน 2. ประชาชนทั่วไป 5 คน 3.ผู้สูงอายุหรือบุคคลที่ไม่มีสมาร์ทโฟน 5 คน ในส่วนการวิเคราะห์ข้อมูล จะพิจารณาประเด็นหลักข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ทั้งหมดจากการถอดเทป แล้วมาแบ่งแยกประเด็นต่างๆด้วยวิธีการทำรหัสข้อมูล (Code) และทำความเข้าใจหรือทบทวนคำถามกับคำตอบให้สอดคล้องกันและสรุปผลในเชิงพรรณนาวิเคราะห์ให้ครอบคลุมตามวัตถุประสงค์ ผลการวิจัยพบว่า (1.) ศึกษาแนวทางในการพัฒนานโยบายคนละครึ่ง ควรพัฒนาการขับเคลื่อนนโยบายให้สอดคล้องกันทั้งระบบ โครงการคนล่ะครึ่งเป็นโครงการที่ดี สามารถช่วยเหลือประชาชนระดับรากหญ้าได้อย่างแท้จริง ดังนั้นภาครัฐควรจะดำเนินโครงการลักษณะแบบนี้ขึ้นมาอีก เพื่อจะได้ช่วยเหลือประชาชนอย่างแท้จริง ภาครัฐอาจจะต้องปรับโครงการนี้ให้ครอบคลุมกลุ่มบุคคลที่ไม่มี สมาร์ทโฟน ได้เข้าถึงสิทธิ์นี้ได้ด้วย รวมทั้งวางแผนการลงทะเบียนให้เป็นระบบและเพิ่มประสิทธิภาพของแอพพลิเคชั่นเป๋าตัง ให้มีความเสถียรและใช้งานได้อย่างสะดวกมากขึ้น ในส่วนของร้านค้าต่าง ๆ ที่เข้าร่วมโครงการ จะต้องมีความซื่อสัตย์ต่อลูกค้า โดยไม่ถือเอาโครงการนี้มาขึ้นราคา หรือลดปริมาณสินค้า (2.) ศึกษาผลการดำเนินโครงการคนละครึ่ง การประเมินด้านบริบท เป็นโครงการที่สามารถแก้ไขปัญหาของประชาชนได้ และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า เป็นนโยบายที่มีความเหมาะสมกับสภาพปัญหาในปัจจุบัน แต่ยังขาดการประชาสัมพันธ์ และจำนวนเงินในการใช้จ่ายน้อยเกินไป การประเมินด้านกระบวนการ โครงการเหมาะสมกับประชาชนที่มีความพร้อมและเข้าใจเทคโนโลยี แต่การกำหนดสิทธิ์ผู้เข้าร่วมโครงการยังไม่เหมาะเท่าที่ควร ประชาชนที่ยากจนและขาดแคลนไม่มีสมาร์ทโฟนหมดสิทธิ์เข้าร่วมโครงการ การประเมินด้านผลลัพธ์ นโยบายมีความทันสมัยช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย และสร้างรายได้แก่ผู้ประกอบการขนาดเล็ก แต่ยังขาดความเสถียรของระบบ ผู้สูงอายุและคนที่ไม่มีสมาร์โฟนถือถูกจำกัดการเข้าร่วมโครงการ ซึ่งจากการศึกษาแนวคิดนโยบายประชานิยม ผ่านนโยบายคนละครึ่งของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา พบว่าเป็นนโยบายที่สามารถช่วยกระตุ้นระบบเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงให้กลับฟื้นคืนมามีการขยายตัวในระยะสั้น ก่อให้เกิดการสร้างงานสร้างรายได้ อันส่งผลต่อการขยายตัวในทางเศรษฐกิจ ซึ่งข้อควรระวังในการใช้แนวคิดนโยบายประชานิยม คือด้านการเข้าถึงสิทธิ์ในวงที่จำกัด เช่น กำหนดการรับสิทธิ์ที่ไม่เหมาะสมอาจสร้างความไม่เป็นธรรมในการกระจายทรัพยากร |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13829 |
Appears in Collections: | Pol-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2638000105.pdf | 1.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.